Content Is Thinking, Thinking is Content
เนื้อหาคือความคิด .
ความคิดคือเนื้อหา
“สิ่งแรกที่สำคัญและจำเป็นที่สุดสำหรับการเรียนการสอนและหลักสูตรคือ”เนื้อหา” จากการวิเคราะห์ที่ผ่านมาพบว่า
เนื้อหาไม่มีอะไรมากหรือน้อยไปกว่าวิธีการคิด
มีหลายวิธีที่จะเริ่มทำความเข้าใจความจริงที่ว่า
เนื้อหาทั้งหมดนั้นหมายถึงวิธีการคิด (เกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง)
วิธีในการค้นหาบางสิ่งบางอย่าง และวิธีทำความเข้าใจบางสิ่งบางอย่างผ่านความคิด
สามวิธีเริ่มต้นที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มีดังนี้”
สามวิธีเริ่มต้นที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มีดังนี้”
ทุกเนื้อหาในรั้วโรงเรียนล้วนเป็นเนื้อหาในวิชาต่างๆ
“ วิชาต่างๆคือการเรียนการสอน
ในการเรียนการสอนนั้นมีสิ่งที่เราให้ความสนใจ
ซึ่งเป็นสิ่งที่อยากจะค้นหาคำตอบ
ขอบเขตข้อมูลของการศึกษาทั้งหมดเป็นการค้นหาถึงคำตอบของสิ่งที่เรากำลังเรียนอยู่
มันไม่ทางเลยที่เราจะค้นหาคำตอบของบางสิ่งโดยไม่ใช้ความคิด
และเราก็ไม่มีทางที่จะเรียนรู้วิธีการค้นหาคำตอบโดยไม่เรียนรู้วิธีการใช้ความคิดก่อน”
“มันไม่มีทางเลยที่เราจะเรียนเนื้อหาของวิชาคณิตศาสตร์โดยปราศจากการเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการหาคำตอบที่ถูกต้องให้กับคำถามและปัญหาทางคณิตศาสตร์
มันไม่มีทางเลยที่เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาของประวัติศาสตร์โดยปราศจากการค้นหาคำตอบที่ถูกต้องและมีเหตุผลให้กับคำถามและปัญหาประวัติศาสตร์”
“มันไม่มีทางเลยที่เราจะสามารถเรียนเนื้อหาของชีววิทยาโดยปราศจากการค้นหาคำตอบที่ถูกต้องและมีเหตุผลให้กับคำถามและปัญหาทางชีววิทยา
ทุกเนื้อหาวิชาเป็นรากฐานให้กับความเข้าใจในการค้นหาคำตอบที่ถูกต้องให้กับคำถาม
เราเรียนเคมีเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับเคมี (เรียนเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับเคมี)
เราเรียนจิตวิทยาเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับคน (เรียนเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับปัญหาของมนุษย์)
นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่เราจะสามารถเข้าใจทุกเนื้อหาวิชา”
ทุกเนื้อหาล้วนมีความเชื่อมโยงกับแนวความคิด
“ไม่มีทางใดที่จะเรียนรู้ส่วนประกอบต่างๆของเนื้อหาได้เลย
โดยขาดการเรียนรู้ แนวความคิด ที่มีนิยามและโครงสร้างแล้ว และไม่มีทางใดที่จะเรียนรู้
แนวความคิด โดยผ่านการเรียนรู้ที่จะใช้มันในสิ่งต่างๆ
หากต้องการเรียนรู้แนวความคิดของการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตย
ก็ต้องเรียนรู้วิธีการที่จะเข้าใจว่ากลุ่มคนเหล่านั้นทำงานได้อย่างเป็นประชาธิปไตยหรือไม่
“หากจะเรียนรู้แนวความคิดของนวนิยายก็ต้องรู้จักที่จำจำแนกความแตกต่างของนวนิยายออกจากเรื่องเล่นหรือเรื่องสั้นอื่นๆ
และหากจะเรียนรู้แนวความคิดของครอบครัว
ก็ต้องเรียนรู้ที่จะจำแนกความแตกต่างของครอบครัวออกจาก กรุ่มคน หรือสมาคม/ชมรม”

เนื้อหาต่างเกี่ยวข้องกันอย่างมีเหตุผล
“เพื่อที่จะเข้าใจส่วนหนึ่งในจุดประสงค์ของเนื้อหา
เราควรจะคิดพิจารณาในความสัมพันธ์ต่อส่วนอื่นๆของเนื้อหานั้นๆด้วย”
“ ยกตัวอย่างเช่น
เราจะเข้าใจว่าการทดลองวิทยาศาสตร์คืออะไร ก็ต่อเมื่อ
เราเข้าใจในทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์นั้นๆ
เราจะเข้าใจว่าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์คืออะไร
ก็ต่อเมื่อ เราเข้าใจในข้อสมมุติฐานทางวิทยาศาสตร์นั้นๆเราจะเข้าใจว่าข้อสมมุติฐานทางวิทยาศาสตร์คืออะไร ก็ต่อเมื่อ เราเข้าใจในการคาดการณ์ทางวิทยาศาสตร์นั้นๆ
เราจะเข้าใจการคาดการณ์ทางวิทยาศาสตร์ว่าคืออะไร ก็ต่อเมื่อ เราเข้าใจในการทดสอบมุมมองทางวิทยาศาสตร์
เราจะเข้าใจในการทดสอบมุมองทางวิทยาศาสตร์ว่าคืออะไร ก็ต่อเมื่อ เราเข้าใจในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ”
ในประเด็นนี้ คุณครูหรือนักเรียนส่วนใหญ่ได้เข้าใกล้ในส่วนของเนื้อหา
แต่ยังไม่ทราบถึงวิธีคิด ระบบสำหรับความคิด หรือระบบของการคิด
ซึ่งการที่เป็นเช่นนี้
จะทำให้เกิดเป็นความทรงจำที่ถูกปกคลุมไปเรื่อยๆและจะเป็นการจำแบบผิดๆ
เมื่อเนื้อหาได้เป็นไปในทิศทางที่ผิดนี้
จะไม่มีรากฐานสำหรับการเจริญเติบโตของความรู้
จะไม่มีรากฐานที่หยั่งลึกของการเกิดปัญญา และจะไม่มีรากฐานสำหรับความเข้าใจและการควบคุมในระยะยาว”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น