Inert
Information, Activated Ignorance, Activated Knowledge

ความแตกต่างระหว่าง
ข้อมูลเฉื่อย การเฉยชาและกระตือรือร้น
เป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะใช้เหตุผลโดยไม่มีเหตุการณ์จริง
ข้อมูลหรือหลักฐานมายืนยัน การหาแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เป้นสิ่งสำคัญสำหรับ
นักคิด เราต้องพิจารณาแหล่งข้อมูลที่เราใช้
โดยพิจารณาอย่างถี่ถ้วนด้วยประสบการณ์ของเราเอง
ประสบการณ์ของเราเป็นครูที่ดีที่สุด
แต่ประสบการณ์ที่ไม่ดีก็ไปสนับสนุนข้อมูลที่ไม่ดี
ความคิดที่ผิดพลาดก็สนับสนุนข้อที่ผิดพลาก การคิดเข้าข้างตัวเอง
แต่ความคิดของเราก็ไม่ได้ถูกเสมอไป
ต้องเกิดจากการผสานเอาหลายๆหลักฐานมาประกอบกัน
ความคิดของเราแบ่งประเภทข้อมูลได้สามประเภท Inert Information, Activated
Ignorance, Activated Knowledge
Inert Information
การรับข้อมูลไปแล้ว คิดว่าตนเองรู้แล้ว
แต่ไม่ทำการย่อยข้อมูลให้เข้าใจ จึงรู้แบบท่องมา ความรู้ไม่ได้พัฒนาต่อ
จึงต้องทำคำถามกระตุ้น
ให้คิดคำนึงถึงเรื่องที่ได้รู้มา
ให้ทำความเข้าใจเกิดปัญญาในตนเอง ยกตัวอย่างเช่น
หลาายคนเคยได้เรียนมาจากในโรงเรียนเรื่องเกี่ยวกับ
ประชาธิปไตยซึ่งเราหลายคนเชื่อว่าเราเข้าใจถึงความหมาย
แต่ส่วนใหญ่มักจะจดจำมาเป็นเพียงคำเปล่าๆ โดยเฉพาะประโยคที่ว่า
"ประชาธิปไตยของประชาชน
โดยประชาชนและเพื่อประชาชน"
คนส่วนใหญ่จดจำประโยคนี้ได้และคิดว่าตนเองเข้าใจถึงความหมายของ
ประชาธิปไตยแล้ว
แต่ไม่เคยที่จะตีความให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความหมายที่แท้จริง
อยากให้ทุกคนได้ลองตอบคำถามเหล่านี้เพื่อวัดว่าท่านเข้าใจมากน้อยเพียงไร

Abraham Lincoln
อะไรคือความแตกต่างระหว่างรัฐของประชาชนและรัฐเพื่อประชาชน?
อะไรคือความแตกต่างระหว่างรัฐเพื่อประชาชนและรัฐโดยประชาชน?
อะไรคือความแตกต่างระหว่างรัฐโดยประชาชนและรัฐของประชาชน?
แล้วอะไรคือความหมายของโดย"ประชาชน"?
นักเรียนมักจะไม่ครุ่นคิดอย่างเพียงพอเพื่อที่จะย่อยข้อมูลที่เรียนรู้มาจากโรงเรียนให้กลายเป็นปัญญา
ข้อมูลหลายๆอย่าง
ที่เรามีแทบจะเป็นเพียงข้อมูลลอยๆ
ดังนั้นนักคิดอย่างมีวิจารณญาณจึงจำเป็นที่จะกำจัดเหล่าข้อมูลที่ท่องจำมาให้กลายเป็นปัญญา
ผ่านการวิเคราะห์ให้กลายเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์
Activated
Ignorance
คิดว่าสิ่งที่ตนเองเชื่อ
หรือสิ่งที่ตนเองถือมั่นนั้นถูก โดยไม่คำนึงถึงหลักเหตุผลและตรรกะการใช้ชีวิต
โดยส่วนมากจะเป็นความเชื่อของบุคลนั้นๆเป็นใหญ่ และ เหตุผลอื่นๆเป็นเรื่องรอง
คนบางคนเชื่อว่า พวกเขาเข้าใจในสิ่งของ สัตว์และมนุษย์อย่างถ่องแท้
แต่จริงๆแล้วอาจจะมีข้อผิดพลาด หรือบางครั้งอาจจะไม่แม่แต่จะใกล้เคียง
และหลงอยู่มายาคติลวงตาผิดๆ อันก่อให้เกิดความเจ็บปวด และสูญเสีย
ตัวอย่างของการกระทำเหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่น การนำอย่างผิดๆของหัวหน้านาซี หรือ
ฮิตเลอที่คิดว่าชนชาติเยอรมันนั้นอยู่เหนือยิว ฉลาดและเข้มแข็งกว่า
จึงกวาดล้างชาวยิวทั้งๆที่ไม่ได้เรียนรู้อย่างถ่องแท้
นำมาซึ่งความสูญเสียและโศกนาฎกรรม
Activated knowledge
การเข้าใจอย่างถ่องแท้ เข้าถึงเนื้อหาประวัติความเป็นมาตั้งแต่แรก
การเข้าใจแบบนี้ทำให้สามารถรับรู้ได้มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น
มีการสอบเกี่ยวกับวิชาประวัติศาสตร์
มีนักเรียนพวกหนึ่งจำเนื้อหาอย่างเดียวเพื่อไปสอบ และอีกพวกหนึ่งก็คือ
การเข้าใจเนื้อหาที่เรียนแบบผิดๆ ไม่ได้ศึกษาเรื่องราวความเป็นมาตั้งแต่ต้น
การกระทำแบบนี้พบว่า พอสอบเสร็จ
นักเรียนเหล่านี้ก็จะลืมเนื้อหาทั้งหมดอย่างรวดเร็ว
แต่ถ้าเราเข้าใจประวัติศาสตร์อย่างถ่องแท้
เราก็จะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่อไปได้เรื่อยๆ จดจำเนื้อหาได้นาน
นอกจากนี้ยังรู้จักคิดวิเคราะห์สิ่งผิดพลาดต่างๆที่เกิดขึ้น
เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาและเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวันต่อไป การจะเชื่ออะไรเราควรที่จะไตร่ตรองให้ดีก่อน
เพราะข่าวสารที่เราได้ยิน ได้ฟัง อาจผิดเพี้ยนไปได้
เพราะข่าวสารที่เราได้รับอาจผ่านการเล่ามาหลายต่อ ข่าวสารเหล่านั้นมักเกินความเป็นจริง
ความคิด
ความเชื่อต่างๆของแต่ละบุคคล ก็ต้องขึ้นอยู่กับ ประเพณี สังคมและสิ่งแวดล้อม
ของแต่ละพื้นถิ่นนั้นๆด้วย ในแต่ละพื้นถิ่นในเรื่องเดียวกันอาจมีความคิดที่แตกต่างกัน
การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด
อย่าหยุดที่จะเรียนรู้ ค้นคว้าหาความรู้
ยิ่งศึกษาเยอะก็จะเป็นคนที่มีทรัพยากรความรู้มาก
สมาชิกกลุ่ม
นส.
ณัฐชยา โฆษิตเจริญกุล 5434411725
นส.
อรกมล นิละนนทุ์ 5434439325
นาย เขมรัฐ มหาพฤกษ์พงศ์ 5434405025
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น