วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

ARGUMENT
                เหตุผล+ข้อโต้แย้งเพื่อที่จะต่อต้านบางสิ่ง เช่นบทสนทนาที่มีความเห็นและเหตุผลไม่ตรงกันโดยใช้ตรรกศาสตร์มาใช้เพื่ออ้างอิงข้อเท็จจริงของอีกฝ่าย
HUMAN NATURE
                เป็นปัจจัยเบื้องต้นของการเป็นมนุษย์ มนุษย์จะมีธรรมชาติในตัวแบ่งเป็น2ขั้นคือ ขั้นแรกและขั้นที่2 ในขั้นแรก จะเป็นส่วนของสัญชาติญาณที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะไม่มีเหตุผลหรือตรรกะ จะเชื่อในสิ่งที่ตนเองอยากจะเชื่อ เชื่อในสิ่งที่ตนเองเข้าใจเป็นหลัก มีสัญชาติญาณการเอาตัวรอดสูง อะไรก็ตามที่ขัดกับความเชื่อของตนเอง หรือขัดกับความคิดของตอนเองจะถูกมองว่าแปลกแยก และเป็นสิ่งแปลกปลอมรวมถึงผิดนายตาของพวกเขาด้วยเช่นกัน  เป็นสมองส่วนสัตว์เลื้อยคลาน ในทางกลับกัน คนที่มีธรรมชาติในขั้นที่2 จะมีการพัฒนาและได้รับการฝึกฝนมากกว่า ถึงแม้จะมีความเชื่อส่วนตัวที่ไม่อยากจะเปลี่ยนแปลง แต่ยังคงรับฟังเหตุและผลที่เข้ามา มีความรักและหลงใหลในการหาหลักฐาน เหตุผล และข้อโต้แย้งต่างๆมาเพื่อที่จะอภิปรายในสิ่งที่ตนเองคิด ไม่คิดอะไรเป็นเส้นตรงเหมือนท่อแป๊ป จะมีความยืดหยุ่นในตนเอง เพื่อที่จะหาความเป็นไปได้ หรือแนวโน้มที่จะเกิดความเป็นไปได้ นี่คือสมองส่วนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

PROBLEM
                คำถาม ตัวอย่าง สถานการณืหรือบุคคลที่ยากต่อการหาทางออก รับมือ หรือแก้ปัญหา เช่นคำถามที่สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทที่แต่ละประเภทมีเหตุผล และตรรกศาสตร์ของตัวเอง
CONCEPT
                การกล่าวสรุปความคิดของสิ่งนั้นๆ พวกเราจะประสบความสำเร็จไม่ได้ถ้าเราคิดอย่างไม่มีจุดหมาย คิดมั่วไปหมด เราต้องเรียนรู้ที่จะจัดการความคิดให้ได้ ดังนั้นเราต้องมีความคิดที่จะนำไปใช้อย่างชัดเจน เราต้องเรียนรู้ที่จะชี้ชัดว่าความคิดหลักคืออะไร โดยการที่จะสามารถเอาความคิดหลักอื่นๆมาวิเคราะห์กับความคิดหลักของเราได้ สามารถที่จะให้ความหมายของความคิดของเราได้ เช่น ผู้คนส่วนใหญ่บอกว่าตัวเองมีประชาธิปไตยสูงมาก แต่น้อยคนในนั้นที่จะสามารถอธิบายว่าประชาธิปไตยคืออะไร รู้แค่ว่าต้องไปเลือกตั้ง แต่คนส่วนน้อยที่จะรู้ว่าการเลือกตั้งมีผลดีอย่างไร ซึ่งความคิดแบบนี้คือการคิดที่ขาดวิจารณญาณในการรับข้อมูล
INTELLECTUAL
                ความเชื่อมั่นหรือความศรัธราในเหตุผล เราต้องมีความเชื่อว่าในระยะยาวสิ่งที่ดีกว่าสำหรับส่วนตัวและส่วนรวม คือการให้โอกาสโดยให้การสนับสนุนความเชื่อมั่นในตัวเองโดยใช้เหตุผล เราต้องมีความศรัธราว่า คนเราสามารถคิดในตัวของตัวเอง มีเหตุมีผล สามารถหาบทสรุปของสิ่งต่างๆได้ สามารถคิดเชื่อมโยงอย่างมีเหตุผล การโน้มน้าวอย่างมีเหตุผลและการน้อมรับอย่างมีเหตุผล ความเชื่อมั่นให้เหตุผลสามารถพัฒนาได้จากประสบการณ์ว่าคนเราทุกคนสามารถที่จะให้เหตุผล สามารถแก้ปัญหาได้ ความมั่นใจในเหตุผลจะถูกมองข้าม เมื่อทำอะไรโดยขาดความเข้าใจ พูดซ้ำๆโดยปราศจากการตรวจสอบข้อมูลหรือเปรียบเทียบโดยไม่มีเหตุผล และถูกครอบงำด้วยอำนาจหรือแรงกดดันของสังคม
RATIONAL SOCIETY
                การมองสังคมอย่างมีวิจารณญาณ
evaluation
การประเมินหรือตัดสินใจคุณค่าของสิ่งต่างๆ การประเมินคุณค่าต้องมีตรรกะและแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ องค์ประกอบของการประเมิน
นั้นมาในรูปของคำถามที่ถามออกมาระหว่างการพิจารณา
1. พวกเราเข้าใจถึงเรื่องที่กำลังพิจารณาอย่างแท้จริงหรือไม่?
2. เรารู้จุดประสงค์แล้วหรือไม่? แล้วถูกต้องหรือไม่?
3. นำจุดประสงค์ของเรามาพิจารณาว่าอะไรคือมาตราฐานของการประเมิน
4.เรามีข้อมูลเพียงพอสำหรับการประเมินแล้วหรือยัง? ข้อมูลที่มีเกี่ยวข้อกับจุดประสงค์หรือไม่?
5. เราได้พิจารณาให้ข้อมูลของเราถูกต้องแม่นยำแล้วหรือยัง?
ผู้ที่ขาดกระบวนการคิดมักจะมองกระบวนการนี้เป็นเพียงการหาสิ่งอ้างอิงหรือพิจารณาตัดสินจากมุมมองด้านเดียวโดยมองข้ามข้อผิดพลาดไป

opinion
ความเชื่อที่สามารถโต้แย้งได้ ความคิดเห็นที่ไม่มีสาระไม่ควรจะนำมาใช้พิจารณา ความเชื่อนั้นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล

(ไปดู evaluation, judment, justify, know, knowledge, reasoned judment)




นางสาว อรกมล นิละนนท์ 5434439325 ภส.337
นางสาว ณัฐชยา โฆษิเจริญกุล 5434411725 ภส.311
นาย เขมรัฐ มหาพฤกษ์พงศ์ 5434405025 ภส.305 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น