วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

การคิดเชิงวิจารณญาณ ในขอบเขตของความรู้แล้วความเชื่อ

การคิดเชิงวิจารณญาณ
ในขอบเขตของความรู้แล้วความเชื่อ
CRITICAL THINKING

IN EVERY DOMAIN OF KNOWLEDGE AND BELIEF

การคิดเชิงวิจารณญาณในขอบเขตของความรู้และความเชื่อ

อะไรคือการคิดเชิงวิจารณญาณ
-              การคิดเชิงวิจารณญาณคือระบบการคิดใช้เพื่อเริ่มกระบวนการคิดอื่นๆต่อไป
-              การคิดเชิงวิจารณญาณจะคิดในแง่ของหลักจริยศาสตร์ทำให้เราสามารถเห็นแนวคิดอันเป็นรากฐานของสังคม เศรษฐกิจและการเมือง
-              การคิดเชิงวิจารณญาณช่วยให้เราคิดในหลายแง่มุมของความคิดเหตุผลและสติปัญญา
-              การคิดเชิงวิจารณญาณคือการคิดที่วิเคราะห์ความคิด ประเมิณความคิด และเปลี่ยนความคิดนั้นๆให้ดีขึ้น
-              การคิดเชิงวิจารณญาณคือการคิดที่ใช้ในช่วงระหว่างของการคิดเพื่อให้เกิดความคิดที่ดีและมีประโยชน์มากขึ้น

การคิดเชิงวิจารณญาณเปลี่ยนแปลงความคิดออกเป็น 2 ทิศทาง
1.       การคิดเชิงวิจารณญาณจะทำให้คิดเป็นระบบมากขึ้น
2.      การคิดเชิงวิจารณญาณจะทำให้คิดอยากครอบคลุมมากขึ้น
การคิดเชิงวิจารณญาณที่จะเปลี่ยนความคิดออกเป็น 2 ทิศทาง แต่ท้ายสุดแล้วจะทำให้มองเห็นความคิดหรือปัญหาในมุมมองที่กว้างขึ้นและเห็นครอบคลุมขอบข่ายของงานมากขึ้น

  

การคิดเชิงวิจารณญาณในขอบเขตของความเชื่อ
“วัฒนธรรมนั้นมีข้อดีในตัวมันเองหลายอย่าง แต่ขอบเขตของวัฒนธรรมก็ทำให้เรามองโลกในมุมมอง

เดียว ดังนั้นเราควรตั้งความคิดให้อยู่เหนือวัฒนธรรม”


ทำไมเราจึงควรตั้งความคิดให้อยู่เหนือวัฒนธรรม?
“เพราะว่าเราคือสิ่งมีชีวิตที่มุมมั่นในชีวิต พฤติกรรม และคุณลักษณะ และเราถูกชักจูงด้วยความคิด เราไม่มีทางเลือกนอกเหนือจากถูกควบคุมโดยความคิด
ดังนั้น...เราสามารถควบคุมความคิดที่ควบคุมเราได้หรือไม่?”

ความคิดควบคุมเรา...เราสามารถควบคุมความคิดนั้นได้หรือไม่?



องค์ประกอบของความคิด Elements of Thought


มาตรฐานเชิงปัญญาสาล
มาตรฐานเชิงปัญญาสากลคือมาตรฐานที่ควรนำมาใช้ในการคิดเพื่อเป็นการประกันว่าการคิดมีคุณภาพ มาตรฐานเชิงปัญญาสากล ได้แก่
ความกระจ่าง        ความเข้าใจง่าย มีความหมายจับต้องได้
ความถูกต้อง         ปราศจารความบิดเบือน มีความเป็นจริง
ความแม่นยำ        สามารถบอกลงไปในรายละเอียดได้
ความตรงประเด็น สัมพันธ์กับเรื่องราวที่กลาวถึง
ความลึก               ความซีบซ้อน ความเกี่ยวพันหลายระดับ
ความกว้าง            ครอบคลุมมุมมองกว้างและเชิงซ้อน
ความมีเหตุผล      ส่วนต่างๆนั้นมีเหตุผล ไม่ขัดแย้งกันเอง
ความสำคัญ          มุ่งเน้นไปที่ประเด็นหลัก มากกว่าประเด็นรอง
ความยุติธรรม       พิสูจน์ความจริงได้ ไม่มองเพียงด้านเดียว

ลักษณะสืบสันดานเชิงปัญญา หรือ คุณธรรม
Intellectual Traits

นักคิดเชิงวิจารณญาณใช้มาตรฐานเชิงปัญญา
ในองค์ประกอบของการให้เหตุผล
เป็นกิจวัตรเพื่อพัฒนาลักษณะเชิงปัญญา
ตัวอย่างการคิดเชิงวิจารณญาณในขอบเขตของความรู้

นักเรียนที่พิการทางสติปัญญา

พวกเขาไม่สามารถรู้ถึงความจำอันไม่ดีของพวกเขาได้
พวกเขาไร้ความสามารถในด้านร่างกายและจิตใจ

พวกเขารู้สึกไม่ดี หดหู่ มีอาการก้าวร้าว  ต่อต้านสิ่งต่างๆ  และปรารถนาจะให้สิ่งต่างๆจบสิ้น
พวกเขาไม่สามารถที่จะอ่านหนังสืออย่างจริงจังต่อไปได้ เพราะมีแต่ความรู้สึกในด้านแย่ๆกับมัน ไม่ได้ถูกปลูกฝังให้คิดในแง่บวกกับมัน


บุคคลประเภทนี้ถึงจะมีความพิการทางสติปัญญาก็ตามแต่ควรปลูกฝังให้พวกเขามีความคิดในแง่บวกเพื่อลดความรุนแรงและต่อต้านสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัว





นักเรียนที่พิการทางสติปัญญา

พวกเขาไม่สามารถที่จะจัดการในระบบต่างๆได้
สุดท้ายผลลัพธ์ที่ได้ คือ ตก” หรือ “เกือบผ่าน”

จริงๆคนประเภทนี้มีความสามารถ แต่ใช้มันแค่ให้พอได้มาในสิ่งที่ต้องการ เช่น อ่านหนังสือก็อ่านผ่านๆ ไม่ได้คิดวิเคราะห์อย่างจริงจัง เอาแค่พอให้สอบผ่านเพื่อให้ได้ใบปริญญาเพียงแค่นั้น


สุดท้ายทำให้สูญเสียความสามารถของสมอง


บุคคลประเภทนี้ น่าเสียดายที่เขาคิดได้แค่เพียงแต่จะให้ผ่านๆไป ทั้งๆที่สมองของพวกเขานั้น มีความสามารถพอที่จะคิดพิจารณาสิ่งต่างๆได้ เขาควรจะได้รับการฝึกฝนเพื่อให้ตัวเองตระหนัก
เกี่ยวกับการคิดให้มากขึ้น  มีความตั้งใจในการทำสิ่งต่างๆให้มากขึ้น ไม่ใช่ทำเพื่อให้ผ่าน


ตัวอย่างการคิดเชิงวิจารณญาณในขอบเขตของความเชื่อ

หากคุณถูกเลี้ยงดูมาในพื้นที่ที่นับถือศาสนาพุทธคุณก็จะถูกบังคับให้นับถือศาสนาพุทธไปด้วยโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากเติบโตมาในบริบทหรือสภาพแวดล้อมนั้นๆ ทั้งๆที่คุณไม่ได้คิดพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนเลยว่าศาสนาพุทธนั้นดีหรือเหมาะกับคุณที่สุดจริงหรือไม่ คุณจะถูกปลูกฝังมาไม่ว่าจาก พ่อ แม่ พี่ น้อง หรือครูบาอาจารย์ ว่าศาสนาพุทธนั้นดีเลิศ ไม่มีข้อเสีย เป็นที่พักพิงทางใจได้อย่างแท้จริง
จากที่กล่าวมา จะทราบได้เลยว่า บุคคลที่นับถือศาสนาพุทธเนื่องจากผ่านการคิด พิจารณาไตร่ตรองด้วยสติปัญญาของตัวเองอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วนั้น มีเพียงน้อยนิด ผู้คนที่นับถือศาสนาพุทธโดยขาดการพิจาณาไตร่ตรอง นับถือตามสภาพแวดล้อมรอบตัว นับถือตามผู้ปกครอง หรือนับถือเพราะคนอื่นบอกว่าดี บุคคลประเภทนี้จะไม่ได้มีความลึกซึ้งถึงศาสนาอย่างแท้จริงนับถือไปเพื่อให้เป็นที่ยอมรับว่าตนมีศาสนา  บุคคลประเภทนี้มีให้เห็นอยู่มากมาย

“โลกในปัจจุบันนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและรวดเร็ว โลกใบนี้มีความซับซ้อนซ่อนอยู่มากมายถ้าหากคุณยังไม่มีระบบการคิดที่ถูกคิดมาอย่างละเอียดถี่ถ้วนและรอบคอบแล้วนั้น  คุณจะดำรงอยู่ในโลกซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ซับซ้อนและตลอดเวลาเช่นนี้ได้อย่างไร”

“ระบบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หรือ Critical thinking นั้น สอนให้คุณคิดอย่างเป็นระบบ คิดอย่างแยบยล คิดเป็นขั้นเป็นตอน จากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดหมาย เพื่อหาคำตอบให้กับตนเอง หาคำตอบในทุกสิ่งทุกอย่าง หาคำตอบเพื่อนำไปสู่คำตอบสุดท้าย อันจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมี
         ทักษะและประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้ดีที่สุด”


กฤติมา       ตันติวิศิษฎ์กุล      5434403725       LA303
รัฐธนินท์     ผิวสุข                   5434433525       LA332
อนันตยา    แจ่มไพบูลย์                  5434441525       LA341

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น