วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

GLOSSARY GROUP2


Analyze
         การตีแตกประเด็นใหญ่ให้ให้เป็นประเด็นย่อยๆ, การยกตัวอย่างในรายละเอียดต่างๆ หรือการที่มองให้ลึกลงไปในประเด็นหรือสถานการณ์นั้นๆ  ในการเรียนก็เช่นเดียวกัน เราควรต้องวิเคราะห์ให้ได้เกี่ยวกับสิ่งที่เราเรียนอยู่  นักเรียนควรต้องถูกถามเพื่อที่จะวิเคราะห์ความคิด  ประสบการณ์  การตีความ  การตัดสินใจ ทฤษฎีต่างๆ หรือสิ่งอื่นๆที่ได้ยินหรือได้ฟังมาในชีวิตประจำวัน

Elements of Thought : องค์ประกอบของความคิด
        ในทุกๆความคิดจะมีกลุ่มองค์ประกอบสากล ที่แต่ละชุดขององค์ประกอบจะสามารถตรวจสอบปัญหาที่เป็นไปได้: “พวกเรามีจุดประสงค์หรือเป้าหมายที่ชัดเจนหรือไม่?” “เกี่ยวกับปัญหาหรือคำถามที่ปรากฏหรือไม่” “เกี่ยวกับมุมมอง กรอบโครงสร้าง หรือ การอ้างอิงหรือไม่” “เกี่ยวกับการสันนิษฐานของพวกเราหรือไม่?” “เกี่ยวกับการเรียกร้องที่เราจะทำหรือไม่?” “เกี่ยวกับเหตุผลหรือพยานหลักฐานตามที่เรากำลังพิจารณาข้อเรียกร้องของเราหรือไม่?” “เกี่ยวกับการวินิจฉัยและสายของเหตุผลของเราหรือไม่” “เกี่ยวกับความหมายและผลลัพธ์ที่ตามมาจากการใช้เหตุผลของเราหรือไม่” นักคิดอย่างมีวิจารณญาณพัฒนาทักษะของการระบุและประเมินค่าองค์ประกอบเหล่านี้ในความคิดของพวกเขาและในความคิดของผู้อื่น 

Fact 
             อะไรที่เกิดขึ้นจริง อะไรที่เป็นความจริง ที่ซึ่งยืนยันมาจาก ประสบการณ์จริง หรือการทดลอง ขยายความจากการตีความ การตัดสิน หรือการสรุป ข้อมูลดิบ มีความแตกต่างทางความรู้สึกระหว่างคำว่า factual, true และ empirical ในประโยคหนึ่งๆ สามารถมีหลาย ข้อเท็จจริงได้ ซึ่งการเรียกร้อง สามารถได้รับการยืนยันหรือไม่ได้รับยืนยันที่มาจากการสำรวจหรือประสบการณ์ การทดลอง การศึกษาต่างๆ แต่เราต้องประเมินผลข้อเรียกร้องเหล่านั้น ถ้ามันเป็นจริงขึ้นมา คนมักจะสับสนกับ คำสองคำนี้ แม้ว่าจุดประสงค์ของมันก็คือ ความจริง ข้อความที่ว่า ดูเหมือนจะเป็นความจริง ยกตัวอย่างเช่น ‘29.23% ของคนอเมริกัน ต้องทนทุกข์ทรมานจากความหดหู่ ‘ ก่อนที่เราจะยอมรับว่ามันเป็นความจริง เราควรประเมินมันก่อน เราควรถามคำถาม เช่น แล้วคุณรู้ได้ยังไง? คุณได้ถามคนคนอื่นไหมว่าพวกเขาหดหู่? คุณเข้าถึงข้อเท็จจริงนี้ได้อย่างไร?  ความหมายของข้อเท็จจริงควรได้รับการประเมินเพื่อความแม่นยำ ความสมบูรณ์ และความสัมพันธ์กันกับประเด็นหลัก แหล่งที่มาของความจริงควรได้รับการประเมินเพื่อคุณภาพ มาตรฐาน ความยุติธรรม การศึกษาที่ใช้ความจำและการทำซ้ำๆหยุดยั้งนักเรียนไม่ให้ประเมินความจริง กิจกรรมที่นักเรียนถูกขอให้ แยกแยะข้อเท็จจริงออกจากความคิดเห็น มักจะทำให้สับสนกับคำสองคำนี้ พวกเขาสนับสนุนนักเรียนให้ยอมรับคำว่าถูกต้องที่ดูเหมือนจะเป็น ความจริง

 Fallacy/Fallacious
             การเข้าใจผิดในเหตุผล   ข้อคิดเห็นหรือความคิดที่แสดงออกมาไม่สอดคล้องกับเหตุและผลที่ควรจะเป็น, การหลงผิด,  
    ความเชื่อที่ผิด,  ความคิดเพ้อเจ้อ

Monological (one-dimensional) Problems : คำถามตรงไปตรงมา (คำถามคำตอบเดียว)
            ปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ด้วยเหตุผลเฉพาะซึ่งอยู่ภายในหนึ่งมุมมองหรือกรอบโครงสร้างของการอ้างอิง ตัวอย่างเช่นการพิจารณาปัญหาต่อไปนี้
            1. ลังใส่วอลนัท 10ลังมีน้ำหนัก 410ปอนด์ ในขณะที่ลังเปล่ามีน้ำหนัก 10ปอนด์ ลูกวอลนัทอย่างเดียวหนักเท่าไหร่?
            2. ในหนึ่งอาทิตย์มีกี่วันที่มีตัวอักษรตัวที่สามของชื่อวันเรียงถัดมาจากตัวอักษรตัวแรกของชื่อวันตามพยัญชนะ
            ปัญหาเหล่านี้และวิธีที่จะสามารถแก้ปัญหานั้นเรียกว่า “คำถามที่ตรงไปตรงมา” คำถามเหล่านี้จะตั้งอยู่ในกรอบโครงสร้างของการอ้างอิงพร้อมกับกลุ่มของตรรกะ เมื่อกลุ่มตรรกะของความคิดเหล่านั้นทำงานก็จะสามารถแก้ปัญหาได้ โดยที่คำตอบหรือวิธีการคิดสามารถแสดงได้ด้วยวิธีกรอบโครงสร้างของความเป็นจริงอย่างไม่ต้องสงสัยว่าจะเป็นคำตอบหรือวิธีการที่ “ถูกต้อง”

Perspective (Point of view) 
            ความคิดมนุษย์นั้นมีความสัมพันธ์กันและได้ผ่านการสรรหามา มันแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจคนๆหนึ่ง เหตุการณ์หนึ่ง หรือปรากฏการณ์หนึ่ง จากหลายๆมุมมองในเวลาเดียวกัน บ่อยครั้งที่ความปรารถนาของเราควบคุมมุมมองของเรา ความคิดอย่างมีวิจารณญาณจึงต้องการ ข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่ การวิเคราะห์และประเมินผล ไม่ได้หมายความว่า ความคิดของมนุษย์ไม่สามารถที่จะเอาเรื่องส่วนตัวมาเกี่ยวข้องกับความจริงได้ เพียงแค่ ความเป็นจริงของมนุษย์นั่นเอา เรื่องส่วนตัวมาเกี่ยวข้อง และ เชาวน์ปัญญาของมนุษย์นั่นย่อมมีข้อจำกัดอย่างแท้จริง ไม่เคยครบถ้วนสมบูรณ์ 


     Premise
             ข้อเสนอ สนับสนุนการสรุปสมมุติฐาน  เป็นจุดเริ่มต้นแรกของเหตุผล  ตัวอย่างเช่น  อาจมีคนมาถามเราว่าข้อสนับสนุน
 ของข้อความที่ว่านี้  ไม่ว่าจะทำสิ่งใดๆทุกคนก็จะเห็นแก่ประโยขน์ส่วนตัว” คืออะไร มีข้อสมมุติฐานใดที่สามารถนำไปสู่คำ    
 ตอบได้ 


กลุ่ม 2 
กฤติมา ตันติวิศิษฎ์กุล  5434403725  LA 303 
รัฐนินทร์  ผิวสุข   5434433525  LA 332
อนันตญา แจ่มไพบูลย์  5434441525  LA 340

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น