วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

การใช้มาตรฐานปัญญาเพื่อประเมินการใช้เหตุผลของนักเรียน

การใช้มาตรฐานปัญญาเพื่อประเมินการใช้เหตุผลของนักเรียน
[Using Intellectual Standards to Assess Student Reasoning]

        เพื่อที่จะประเมิณการใช้เหตุผลของนักเรียน เราจำเป็นต้องใส่ใจมิติสองอย่างของการใช้เหตุผล มิติแรกประกอบด้วยองค์ประกอบของการใช้เหตุผล มิติที่สองประกอบด้วยมาตรฐานการใช้ปัญญาด้วยการวัดความสามารถในการใช้องค์ประกอบของการใช้เหตุผลอย่างชำนาญ
        องค์ประกอบของการใช้เหตุผล
        เมื่อเราเริ่มกระบวนการจากความคิดซึ่งเชื่อมโยงกันและไม่เป็นระเบียบ เพื่อที่จะคิดอย่างเป็นมโนภาพและอนุมาน การคิดในแบบที่พยายามให้เข้าใจง่ายเพื่อคิดและเข้าใจ - เรียกสั้นๆ ว่าการใช้เหตุผล ดังนั้นมันจึงมีประโยชน์ที่จะเพ่งสมาธิไปที่ “องค์ประกอบของการใช้เหตุผล” องค์ประกอบนี้คือมิติที่จำเป็นต่อการใช้เหตุผลไม่ว่าที่ไหร่ เมื่อไหร่ ที่ต้องใช้ พวกเขากำหนดการใช้เหตุผลและให้ตรรกะพื้นฐานต่อการใช้งานของเหตุผล
         พวกเราสามารถเชื่อมโยงองค์ประกอบพวกนี้โดยการตั้งใจจากใกล้ชิดถึงสิ่งที่แสดงนัยในการกระทำเพื่อคิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกมาจากการใช้เหตุผล องค์ประกอบพวกนี้ ได้แก่ จุดประสงค์ คำถามถึงปัญหา การตั้งข้อสันนิษฐาน การสรุป การหาความเกี่ยวข้อง มุมมองความคิด คอนเซป และ ข้อพิสูจน์ ทำให้เกิดศูนย์กลางของความตั้งใจในการประเมินการคิดของนักเรียน
         ตัวชี้วัดของการใช้เหตุผล
         เมื่อเราประเมินการใช้เหตุผลของนักเรียน เราต้องการที่จะตีค่าในวิธีที่สมเหตุสมผล สามารถรับได้ และยุติธรรม ไม่ใช่แค่ว่านักเรียนกำลังใช้เหตุผล แต่ต้องดูว่าพวกเขาใช้เหตุผลได้ดีแค่ไหน พวกเราจะไม่ประเมินเพียงแค่ว่าพวกเขาใช้องค์ประกอบของการใช้เหตุผล แต่คิดถึงระดับที่พวกเขาใช้มันอย่างดี อย่างวิพากษ์วิจารณ์ ว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมทางปัญญา
          เพื่อที่จะประเมินผลตอบรับของนักเรียน คือต้องประเมินการคิดบนพื้นฐานของการใช้เหตุผล ไม่ว่าจะด้วยการเขียนหรือพูด ถกปัญหาอย่างมีโครงสร้างในข้อมูลหรือในการตอบอย่างวิพากษ์วิจารณ์ต่องานการอ่าน ว่าชัดเจนหรือสมบูรณ์แค่ไหน โดยธรรมดาแล้ว การประเมินงานของนักเรียนโดยการดูว่ามีเหตุผลและมั่นคงแค่ไหน ในการที่มันปกป้องตำแหน่งของตัวเอง ทำได้โดยการดูว่านักเรียนมีความยุติธรรมและยืดหยุ่นแค่ไหนต่อการเชื่อมต่อกับมุมมองความคิดอื่นๆ, โดยการดูว่าจุดประสงค์ของนักเรียนมันสำคัญและสมจริงแค่ไหน, โดยดูจากความแม่นยำและลึกซึ้งของการที่นักเรียนเชื่อมต่อคำถามกับปัญหา ทั้งหมดนี้คือการวัดผลที่อยู่บนพื้นฐานของการใช้เหตุผล
           นอกจากตัวชี้วัดการใช้เหตุผลที่กล่าวไปแล้ว ยังมีตัวชี้วัดอื่นๆที่อาจารย์ใช้ในบางครั้งเพื่อประเมินงานนักเรียน เพื่อวัดการตอบสนองของนักเรียนบนพื้นฐานของความสั้นชับได้ใจความหรือความสละสลวยของระดับงาน ด้วยการใช้มาตรฐานที่ไม่เหมาะสมต่อการประเมินการใช้เหตุผลของนักเรียน
โดยธรรมดาแล้ว มันไม่เกี่ยวข้องกับการประเมินการใช้เหตุผลที่จะประเมินงานของนักเรียนด้วยการดูว่ามันตลกแค่ไหน พูดคล่องแคล่วแค่ไหน มีความเฉพาะตัวหรือตรงไปตรงมาแค่ไหน การดูว่างานนักเรียนตรงกับมุมมองของอาจารย์แค่ไหน ทำโดยการดูว่ามันตรงกับคำพูดอาจารย์แค่ไหนด้วยปริมาณของคำที่ตรงกัน อันตรายของการชี้วัดแบบนี้คือมันไม่ตรงกับการวัดแบบใช้เหตุผล การประเมินแบบนี้มักเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ และนักเรียนจะถูกประเมินบนพื้นที่ต่างจากระดับที่พวกเขาใช้เหตุผล
           เงื่อนไขพื้นฐานอย่างแน่นอนเมื่อไหร่ก็ตามที่เรารวบรวม สร้างกรอบความคิด ปรับใช้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือประเมินค่า ข้อมูล คือองค์ประกอบของการใช้เหตุผล ดังนี้
           1.วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกรอบความคิด  [ Purpose, Goal, or End in View ]
เมื่อไรก็ตามที่เราให้เหตุผล เพื่อบรรลุเป้าหมายบางอย่าง  หรือเพื่อทำให้แน่ใจถึงความปรารถนาหรือ เติมเต็มความต้องการบางอย่าง หนึ่งในที่มาของปัญหา ในการให้เหตุผลของนักเรียนนั้น คือ ข้อบกพร่องในระดับของความคิด เป้าหมาย และขอบเขต ถ้าเป้าหมายไม่สามารถจับต้องได้ เช่น การขัดแย้งกันกับเป้าหมายอื่นที่นักเรียนมี ถ้ามันสับสน หรือยุ่งเหยิงไปในทางใด การใช้เหตุผลเพื่อบรรลุเป้าหมาย ก็จะเป็นปัญหาที่ยากจะแก้ไข
การประเมินของอาจารย์ต่อการใช้เหตุผลของนักเรียน สิ่งสำคัญที่ควรเอาใจใส่ คือความสามารถในการ กำหนดขอบเขตวัตถุประสงค์ ที่เกี่ยวโยงกับมาตรฐานทางปัญญา เช่นเดียวกับการ ให้คำแนะนำนักเรียนเกี่ยวกับระดับของการให้เหตุผลตามมาตรฐาน  ในวัตถุประสงค์ของนักเรียน ในบทความ รายงานโครงการค้นคว้า หรือรายงาน หรือการเสวนา   มันกระจ่างหรือไม่? เป้าหมายชัดเจนหรือไม่? จับต้องได้หรือเปล่า? บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่? ภาพรวมของเป้าหมายตอบสนองแนวทางของโครงการ ไม่เปลี่ยนแปลง หรือมันสอดคล้องกันโดยตลอดหรือไม่? และในที่สุดผู้เรียนมีเป้าหมายที่ขัดแย้งกันหรือเปล่า ?
           2.การตั้งคำถามที่ประเด็น หรือ การแก้ไขปัญหา [ Question at Issue, or Problem  to be Solved ]
เมื่อไรก็ตามที่เราพยายามให้เหตุผลสำหรับบางสิ่ง จะมีอย่างน้อยหนึ่งประเด็นคำถาม หรือปัญหา ที่ต้องจัดการ หนึ่งปัจจัยที่ควรคำนึงสำหรับการประเมินเหตุผลของนักเรียน ดังนั้นจึงต้องมีการตั้งคำถามที่จะตอบและกำหนดปัญหาที่จะแก้ ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลในมุมมองของนักเรียนเอง หรือ คนอื่นๆ ทักษะในการประเมินความชำนาญขององค์การประเมินความต้องการการให้เหตุผล และการวิจารณ์ความสามารถของผู้เรียนในการกำหนดปัญหา ให้ชัดเจนและกระจ่าง มันเกิดจากการให้คำวิจารณ์โดยตรงต่อนักเรียน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง คำถามที่พวกเขากำหนดและให้ความสำคัญ สิ่งที่ที่ตอบได้ หรือ ไม่ว่าจะเป็นความเข้าใจในความต้องการของคำถาม เพื่อแก้ไขปัญหา
           3.เป้าหมายของการพิจารณา หรือกรอบอ้างอิง [ Frame of Reference, or Point of  View ]
เราต้องให้เหตุผลสำหรับมุมมองหรือกรอบอ้างอิง  ข้อบกพร่องต่างๆ เป็นแนวทางในการให้เหตุผลต่อปัญหา
มุมมองทางความคิดอาจแคบเกินไป หรืออาจตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ผิด มันอาจถูกจำกัดหรือ หรือไม่ยุติธรรม
การให้เหตุผลของผู้เรียนสอดคล้องกับมุมมองทางความคิด อาจพบเกี่ยวข้องกับมาตรฐาน ถึงระดับความสำคัญ เป้าหมายของเขาจะกว้างยืดหยุ่น และเป็นธรรม มันจะดูกระจ่างและสดคล้องกับความคิด
ผลตอบรับสู่ผู้เรียน จะรวมไปถึงการวิจารณ์การประเมินความสามารถในการกำหนดขอบเขต และเป้าหมายทางความคิด อาจเหมาะสมโดยตรงสำหรับผู้เรียนถึงแนวทางการให้เหตุผล เพื่อสนับสนุน ความหลากหลาย ในการให้เหตุผล เป้าหมาย
          4.มิติเชิงประจักษ์ของการใช้เหตุผล [ The Empirical Dimension of Reasoning ]
 เมื่อใดก็ตามที่เกิดปัญหาเราก็จะพยายามหาข้อบกพร่อง ที่อาจจะเกิดจากประสบการ แหล่งข้อมูล หรือวัตถุดิบ ที่จะเป็นแหล่งของปันหานักเรียนจะต้องประเมินและหาหลักฐานที่จะต้องรวบรวมและรายงานอย่างชัดเจน เป็นธรรมและถูกต้อง
นักเรียนได้รับข้อมูลที่เพียงพอเข้าประเด็น
ข้อมูลพอต่อจุดประสงค์ เป็นความจริงหรือมีบิดเบือนอะไรในความเหมาะสม
           5.มิติความคิดของการใช้เหตุผล [ The Conceptual Dimension of Reasoning ]
ดังนั้นจะคิดแบบมีเหตุผลที่ดีต้องมีขอบเขตของการคิด นอกจากนั้นต้องคิดคอนเสปให้เคลีย
เพราะถ้ามีข้อบกพร่องในคอนเซป หรือไอเดีย หรือขอบเขตการคิด มันก็จะเป็นปัญหาต่อการคิดแบบมีเหตุผล
สิ่งที่อาจารย์ต้องดูคือคอนเส็ปที่ใช้ในการให้เหตุผลนั้นเคลียร์หรือไม่  แบบชัดเจนไหม?
ไอเดียที่ใช้เกี่ยวข้องกับงานในมือหรือไม่?หลักการที่เขานั้นตรงกับมุมมองของเขาหรือไม่?
          6.สมมุติฐาน [ Assumption ]
ทุกเหตุผลต้องเริ่มที่ไหนสักที่ และต้องเชื่อว่ามันคือสิ่งนั้นจริงๆ ส่วนข้อบกพร่องของการตั้งสมมุติฐาน ส่วนใหญ่มักจะมาจากตัวนักเรียนเอง
การตั้งสมมุติฐานที่ดีควรจะใช้ทักษะผ่านทักษะของการคิดโดยใช้เหตุผลและตั้งอยู่บนหลักของความเป็นจริงซึ่งสมมุติฐานที่ตั้งนั้นอาจจะถูกหรือผิดก็ได้
          7. ความหมายโดยนัย[ Implication and Consequences ]
 ไม่ว่าเราจะจบการให้เหตุผลที่ตรงไหน มันจะมีความหมายสัมพันธ์และผลลัพธ์ที่ไกลกว่าเดิม เมื่อเหตุผลพัฒนาขึ้น การบรรยายจะได้รับอิทธิพลอย่างมีเหตุผล “ข้อบกพร่อง” ใดๆก็ตามในความหมายสัมพันธ์หรือผลลัพธ์ของการให้เหตุผลของเราอาจจะกลายเป็นแหล่งของปัญหา
ความสามารถในการให้เหตุผลที่ดีถูกวัดด้วยความสามารถที่จะเข้าใจและพูดถึงความหมายและผลลัพธ์ทางการคิดได้อย่างชัดเจน ดังนั้นนักเรียนจึงต้องการการช่วยเหลือเพื่อเข้าใจทั้งมาตรฐานที่สำคัญต่อของการใช้เหตุผลต่อความหมายสัมพันธ์และระดับที่ซึ่งการให้เหตุผลถึงมาตรฐาน
เมื่อนักเรียนพูดความหมายของการให้เหตุผลของพวกเขา นักเรียนได้สำเร็จในการระบุถึงความหมายที่สมจริงและสำคัญ นักเรียนได้บอกอย่างชัดเจนถึงความหมายในมุมมองของพวกเขาอย่างชัดเจนและถูกต้องมากพอแล้วหรือที่จะอนุญาตให้การคิดของพวกเขาได้รับการประเมินโดยความเที่ยงตรงของความหมายเหล่านั้น
           8.ข้อสรุป [ Inferences ]
การให้เหตุผลดำเนินไปตามขั้นตอนที่พวกเราให้เหตุผลดังว่า “เพราะมันเป็นเช่นนี้ มันจึงเป็น(หรือ อาจจะเป็น)เช่นนี้ด้วย” หรือ “เพราะเช่นนี้ ดังนั้นจึงเป็นเช่นนี้” “ข้อบกพร่อง” ใดๆก็ตามในบทสรุปเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในการให้เหตุผลของเรา
การประเมินจะวัดความสามารถของนักเรียนที่จะกล่าวข้อสรุปในการให้เหตุผลของพวกเขา เมื่อไหร่ที่ข้อสรุปจะถูกพูด? เมื่อมันพบกับมาตรฐานชี้วัดที่สมเหตุสมผลและตรงประเด็นของการสรุป ข้อสรุปที่นักเรียนได้รับชัดเจนหรือไม่? โต้แย้งได้ไหม? นักเรียนได้รับข้อสรุปที่ลึกซึ้งหรือพวกเขาติดอยู่กับขั้นผิวเผิน? บทสรุปที่นักเรียนได้รับมั่นคงแล้วหรือยัง?














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น