วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

มาตรฐานเชิงปัญญาสากล

มาตรฐานเชิงปัญญาสากล ( Universal Intellectual Standards )

by Linda Elder and Richard Paul


       มาตรฐานระดับสติปัญญาสากลเป็นมาตรฐานที่ต้องนำมาถกคิดเสมอเมื่อมีคนสนใจจะทดสอบคุณภาพการใช้เหตุผลต่อปัญหา เหตุการณ์ หรือ สถานการณ์ต่างๆ การคิดอย่างมีวิจารณญาณจึงต้องมีการวัดมาตรฐานเพื่อให้นักเรียนเข้าใจกระบวนการเหล่านี้ ครู อาจารย์ ควรหัดถามคำถามคอยกระตุ้นให้เด็กคิดคำถามที่นักเรียนจะต้องอธิบายกระบวนการคิดของตนเองได้ คำถามที่นักเรียนจำเป็นจะต้องถามตนเองโดยการชี้นำตัวอย่างคำถามที่สอดคล้องกันของอาจารย์ในชั้นเรียนและเป้าหมายสูงสุดคือเพื่อให้คำถามเหล่านี้ จุดประกายในกระบวนการคิดของเด็กนักเรียน ค่อยๆก่อตัวจากเสียงในหัวของเด็ก ที่จะสามารถนำทางนักเรียนให้มีการใช้เหตุผลที่ดีขึ้นเรื่อยๆ นักเรียนจำนวนมากยังคงไม่ผ่านมาตรฐานเหล่านี้ ต่อไปนี้คือวิธีที่สำคัญที่สุด

ความกระจ่าง ความชัดเจน
: คุณอธิบายตรงนี้เพิ่มเติมหน่อยได้ไหม?
คุณพอจะอธิบายจุดนี้ในทิศทางอื่นได้หรือเปล่า?
คุณจะช่วยสาธิตได้ไหม?
คุณพอจะยกตัวอย่างได้หรือเปล่า?
ความชัดเจนจะเป็นมาตรฐานที่สำคัญอย่างยิ่ง ถ้าตัวนักเรียนมีความไม่ชัดเจน(ไม่มีจุดยืน) เราก็ไม่สามารถระบุชัดเจนได้ว่าเด็กถูกต้องหรือไม่
จริงๆแล้วก็คือเราไม่สามารถบอกอะไรได้เลยตราบที่เราไม่สามารถรู้ว่าเด็กคิดเห็นอย่างไร ตัวอย่างเช่น
คำถามว่า “เราจะทำอะไรเกี่ยวกับระบบการศึกษาในอเมริกาได้บ้าง” เป็นคำถามที่ไม่ชัดเจน
การจะสามารถตอบคำถามได้อย่างเต็มที่ เราจำเป็นจะต้องมีความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ว่าคนถาม
เขาถามอะไรกันแน่ (อะไรคือปัญหาของคำถามนั้น) คำถามที่ชัดเจนมากขึ้นอาจเช่น
“นักเรียนสามารถทำอะไรเพื่อให้มันใจว่าได้เรียนทักษะและสามารถนำไปใช้ได้อย่างประสบความสำเร็จในงานหนึ่งๆรวมไปถึงการตัดสินใจต่างๆในชีวิตประจำวัน”

ความถูกต้อง
: เรื่องนั้นมันเป็นจริงหรือ?
เราจะตรวจสอบได้อย่างไร?
เราจะค้นหาว่ามันจริงได้อย่างไร?
การพูดแต่ละครั้งอาจจะชัดเจนแต่ไม่ถูกต้องแม่นยำ เช่น สุนัขส่วนใหญ่หนักกว่า300 ปอนด์

ความแม่นยำ(รายละเอียดชัดเจน/กระชับ)
: คุณให้รายละเอียดมากกว่านี้ได้ไหม?
คุณพอจะอธิบายแคบลงอีกหน่อยได้ไหม(ระบุชัดเจน/ชี้เฉพาะ)?
คำพูดนั้นๆอาจจะชัดเจนและถูกต้องแต่ไม่แม่นยำ เช่นใน แจ๊คอ้วนเกินไป (เราไม่รู้ว่าอ้วนมากขนาดไหน
กี่กิโลกรัมกันแน่ ต้องการตัวเลขระบุชัดเจน)

ความตรงประเด็น/มีความสัมพันธ์กัน
: คำแถลงนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับคำถามอย่างไร?
คำแถลงบ่งชี้ประเด็นนั้นๆอย่างไร?
คำพูดหนึ่งอาจมีความชัดเจน ถูกต้อง แม่นยำ แต่ไม่เกี่ยวข้องกับคำถาม หรือนอกประเด็น
ตัวอย่างเช่น นักเรียนมักคิดว่าความพยายามที่มีต่อการเรียนควรทำให้พวกเขาได้เกรดที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ตามบ่อยครั้งที่ความพยายามนั้นไม่สามารถวัดคุณภาพการเรียนของนักเรียนได้ และถ้าเป็นเช่นนั้น
ความพยายามกับเกรดที่เหมาะสมก็ไม่ได้สัมพันธ์กันแต่อย่างใด

ความลึกซึ้ง
: คำตอบของคุณจะตอบโจทย์ความซับซ้อนของคำถามได้อย่างไร?
ได้นำปัญหามาในคำถามมาเป็นข้อพิจารณาสำคัญด้วยหรือไม่?
มันเชื่อมโยงกับข้อสำคัญหลักๆหรือไม่?
คำพูดอาจจะชัดเจน ถูกต้อง แม่นยำ สัมพันธ์กับคำถาม แต่ไม่ลึก (ตอบแบบผิวเผินงูๆปลาๆ)
ตัวอย่างเช่น Just say no! ที่มักจะถูกใช้รณรงค์กับหมู่เยาวชนและวัยรุ่นเกี่ยวกับการต่อต้านการใช้ยาเสพติด
มีความชัดเจน แม่นยำ กระชับ และมีความสัมพันธ์กัน แต่ขาดตื้นเกินไป ไม่มีความละเอียดลึกซึ้ง
ทั้งๆที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับปัญหาสำคัญระดับชาติอย่างยาเสพติด

ความกว้าง
: มีแง่มุมอื่นที่ต้องนำมาพิจรณาด้วยหรือไม่?
คำถามนี้ตอบอย่างอื่นได้อีกไหม?
ถ้ามองในแง่ของคนอนุรักษณ์นิยมจะเป็นอย่างไร?
เหล่านี้อาจจะชัดเจน แม่นยำ มีความสัมพันธ์กัน และลึก แต่ ขาดความกว้าง
เพราะมันมาจากแค่ด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งอาจนำมาซึ่งการถกเถียงต่อไปได้

เป็นเหตุเป็นผล
: เรื่องนี้สมเหตุสมผลหรือไม่?
สิ่งที่พูดเป็นเหตุเป็นผลกันหรือไม่?
เวลาเราคิด เรามีกระบวนการจัดเรียงความคิดในแบบใดแบบหนึ่ง
หากความคิดเหล่านั้นมารวมกันแล้วสามารถสนับสนุนจุดอื่นๆ และเป็นที่เข้าใจได้ ความคิดนั้นถือว่ามีเหตุผล

ความเป็นกลาง/ยุติธรรม
: เรามีความสนใจที่ชอบธรรมหรือไม่?
ฉันกำลังนำเสนอมุมมองของคนอื่นเพราะความสงสารหรือไม่?
ความคิดของมนุษย์มักจะลำเอียงขึ้นอยุ่กับทิศทางของเจ้าของความคิด ตามธรรมชาติแล้วมนุษย์เรามักไม่สนใจ
สิทธิ หรือความจำเป็นของผู้อื่น
ดังนั้นควรจะมั่นใจเสมอว่าเรากำลังคิดแบบไม่เข้าข้างใครหรือลำเอียงไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ต้องตั้งอยู่บนความยุติธรรม มันอาจเป็นเรื่องยาก เพราะเรามักจะเข้าข้างตัวเองว่าถูกและเป็นกลางเสมอ
แต่มันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

For a deeper understanding of intellectual standards and their relationship with critical thinking, see
theThinker's Guide to Intellectual Standards.
( Paul, R. and Elder, L. (October 2010). Foundation For Critical Thinking, online at
website:www.criticalthinking.org)






นายนักรบ สายเทพ 5434415225 ภส.315
          นางสาวอติพร เกตุแก้ว 5434437025 ภส.335

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น