วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

บทบาทของคำถามในการสอน การคิด และการเรียนรู้

The Role of Questions in Teaching, Thinking and Learning
บทบาทของคำถามในการสอน การคิด และการเรียนรู้

        เหตุผลหนึ่งที่เหล่าครูอาจารย์ต่างมุ่งที่จะเน้นย้ำเรื่อง “การสอนอย่างครอบคลุม” มากกว่า “การมีส่วนร่วมทางความคิด” ก็คือพวกเขาต่างสันนิษฐานว่า คำตอบ สามารถใช้สอนแยกออกจากคำถามได้ แต่ตามความจริงแล้วสิ่งสำคัญที่เป็นรากฐานของการศึกษาคือ คำถาม ซึ่งได้รับการยืนยันโดยทั่ว ในหลายๆบทความเป็นบทความที่อธิบายเหมือนการตอบคำถามบางอย่าง ซึ่งในความเป็นจริงคำถามมักไม่ได้ถูกตระหนักถึง ยกตัวอย่างเช่น ข้อความที่ว่า น้ำเดือดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส นี่ก็เป็นคำตอบของคำถามที่ว่า “ที่อุณหภูมิเท่าไร น้ำจะเดือด”
          เพราะฉะนั้น ในทุกๆข้อความที่บอกเล่าในหนังสือเรียน ก็จะเป็นคำตอบสำหรับคำถาม ดังนั้น ในทุกๆหนังสือหรือแบบเรียน จึงสามารถถูกเขียนขึ้นใหม่ในทางที่เกี่ยวกับการถามคำถาม ด้วยการเปลี่ยนแปลงแต่ละข้อความที่เคยใช้อธิบายมาเป็น คำถาม แทน แต่เท่าที่ฉันได้รู้มา สิ่งเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้น และยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่จะพิสูจน์ในสถานะที่พิเศษกว่าของคำตอบว่าเหนือกว่าคำถามในการสอน รวมถึงการที่ครูอาจารย์ต่างเข้าใจผิดเกี่ยวกับความสำคัญของคำถามในกระบวนการการเรียนรู้ การสอนในทุกระดับทุกวันนี้ยังคงมีคำถามที่ซ่อนอยู่ในความคลุมเครือของ “คำตอบ”
       

Thinking is Driven by Questions
ความคิดถูกขับเคลื่อนโดยคำถาม

ความคิดไม่ได้ถูกขับเคลื่อนโดยคำตอบ  แต่ถูกขับเคลื่อนจากคำถาม  คำถามมักที่ถูกถามโดยคนที่วางรากฐานของสาขาวิชา อย่างเช่น ฟิสิกส์ หรือชีววิทยา  วิชาเหล่านี้ไม่เคยถูกพัฒนาในครั้งแรก มากไปกว่านั้น ทุกๆสาขาวิชา ยังคงมีอยู่ได้โดยอาศัยคำถามใหม่ๆที่พัฒนาขึ้น และขับเคลื่อนโดยกระบวนความคิด การที่จะคิดผ่านๆหรือการคิดทบทวนทุกๆอย่าง คนหนึ่งจะต้องถามคำถามที่กระตุ้นความคิดของพวกเรา   
          คำถามเป็นตัวกำหนดงาน โดยการแสดงออกถึงปัญหาและวิเคราะห์ประเด็นนั้นๆ  ในทางตรงกันข้าม คำตอบมักจะเป็นสัญญาณหยุดคิด เว้นแต่เมื่อคำตอบนั้นได้พัฒนาเป็นคำถามที่เพิ่มเติมที่คิดต่อไปได้ นี่เป็นเหตุผลในความจริงที่ว่านักเรียนที่มีคำถามเป็นคนที่คิดและเรียนจริงๆเท่านั้น มันเป็นไปได้ว่าให้นักเรียนทำข้อสอบในวิชาใดๆก็ได้ที่ให้เขียนแต่คำถามที่พวกเขามีต่อวิชานั้น รวมถึงคำถามทั้งหมดต้องถูกพัฒนามาจากคำถามแรกที่พวกเขาเขียน
          สิ่งเหล่านี้พวกเราไม่ได้ทดสอบนักเรียนโดยการถามพวกเขาโดยกาให้กำหนดคำถามและอธิบายความสำคัญของคำถามคือเป็นหลักฐานในสถานะสิทธิพิเศษที่พวกเราให้กับคำตอบที่แยกออกมาจากคำถาม  นั่นคือพวกเราถามคำถามที่แค่ได้คำตอบที่หยุดคิดต่อ ไม่ใช่พัฒนาไปสู่คำถามที่มากขึ้น

Feeding Students Endless Content to Remember
ป้อนเนื้อหาที่ยังไม่จบ ให้นักเรียนจดจำ

              ป้อนเนื้อหาที่ยังไม่จบให้แก่นักเรียนเพื่อให้เกิดการจดจำ (ประโยคที่บอกเล่าเพื่อให้จดจำ) ซึ่งก็คล้ายคลึงกันกับในขั้นตอนการย้ำเบรคเครื่องยนต์ของยานพาหนะที่น่าเสียดายว่าเครื่องยนต์ได้หยุดพักไปแล้ว แทนที่นักเรียนจะต้องการคำถามที่จะเปิดไปสู่เครื่องยนต์แห่งสติปัญญา และพวกเขาต้องการที่จะตั้งคำถามจากคำถามของพวกเรา เพื่อที่จะให้ความคิดมีจุดหมายที่จะไปสู้ที่ไหนสักแห่งหรือเรื่องสักเรื่อง ความคิดนั้น จะไม่มีประโยชน์อันใดเลย หากปราศจากเป้าหมาย และย้ำอีกครั้ง ว่าคำถามที่เราร้องขอ จะเป็นสิ่งกำหนดว่าความคิดของเรานั้นมุ่งไปสู่ที่ใด เรื่องใด
               คำถามที่ล้ำลึกจะทำให้ความคิดของเราไม่ได้คิดเพียงผิวเผินต่อสิ่งต่างๆ และยังผลักดันให้เราขับเคี่ยวกับสิ่งที่ซับซ้อนได้ คำถามเกี่ยวกับเป้าหมายจะผลักดันให้เราระบุปัญหาหรืองานที่ยากได้ชัดเจน คำถามเกี่ยวกับข้อมูล จะผลักดันให้เรามองเห็นแหล่งที่มาของข้อมูลและคุณภาพของข้อมูลได้ชัดเจน
               คำถามเกี่ยวกับการแปลความหมาย จะผลักดันให้เราได้ตรวจสอบว่าเราจัดการ หรือให้ความหมายกับข้อมูลอย่างไร คำถามที่เกี่ยวกับการสันนิษฐาน ผลักดันให้เราได้ตรวจสอบว่าอะไรที่เราจะได้รับเอาหรือสิ่งใดที่เราจะให้ไป คำถามที่เกี่ยวกับ ความเกี่ยวพันกัน จะผลักดันให้เราได้พบว่าความคิดของเรานั้นไปถึงไหน ความคิดของเราไปอยู่ที่ใดแล้ว คำถามที่เกี่ยวกับความเห็นหรือแง่คิด ผลักดันให้เราได้ตรวจสอบแง่คิดของเรา ได้ตระหนักถึงแง่คิดหรือมุมมองอื่นๆที่สัมพันธ์กัน
               คำถามที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์หรือประเด็นหนึ่งๆ จะผลักดันให้เราได้แยกแยะว่าสิ่งใดใช่ สิ่งใดที่ไม่ใช่ คำถามที่เกี่ยวกับความถูกต้องเที่ยงตรง ผลักดันให้เราได้ตีค่าและทดสอบถึงเรื่องจริงและสิ่งที่ถูกต้อง คำถามเรื่องความแม่นยำ แน่นอน ผลักดันให้เราสามารถให้รายละเอียดโดยเฉพาะเจาะจงต่อสิ่งต่างๆได้ คำถามที่เกี่ยวกับความมั่นคง,ความยึดมั่น,ความคงเส้นคงวา ผลักดันให้เราได้ตรวจสอบความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่กำลังเกิดความขัดแย้งหรือเป็นประเด็นที่กำลังถกเถียงได้ คำถามที่เกี่ยวกับตรรกะ จะผลักดันให้เราได้ตระหนักว่าเราจะรวบรวมความคิดต่างๆในสมองเข้าด้วยกันอย่างไรเพื่อให้เข้าที่เข้าทางและเข้าใจได้ภายใต้ระบบการคิดที่มีเหตุและผล
  
     
Dead Questions Reflect Dead Minds
คำถามที่ไม่มีประโยชน์สะท้อนความคิดที่ไม่มีประโยชน์
          โชคไม่ดีที่นักเรียนส่วนมากถามคำถามประเภทที่ไม่กระตุ้นความคิดของพวกเขา พวกเขามีแนวโน้มที่จะถามคำถามที่ตายตัว อย่างเช่น สิ่งนี้มีอยู่ในข้อสอบหรือไม่  เป็นคำถามที่บ่งบอกถึงความปรารถนาที่จะไม่คิด ในทางกลับกันครูส่วนมากก็ไม่ได้คิดที่จะตั้งคำถามและคำตอบที่เกิดจากความคิดพวกเขาเอง นั่นคือไม่ได้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการคิดทบทวนในวิชาของพวกเขา แต่พวกเขาจะหาคำถามและคำตอบจากคนอื่นที่อยู่ในตำรา
          เราต้องเตือนตัวเองอยู่เสมอว่าความคิดเริ่มต้นด้วยความเคารพเนื้อหาบางประเด็น เมื่อคำถามถูกพัฒนาทั้งจากครูและนักเรียนเท่านั้น  ไม่มีคำถามก็เท่ากับไม่เข้าใจ  คำถามที่ตื้นก็เท่ากับเข้าใจแค่ผิวเผิน  นักเรียนส่วนมากมักจะไม่มีคำถาม  พวกเขาไม่แค่นั่งเงียบๆ แต่ความคิดเขาก็เงียบด้วยเช่นกัน ดังนั้น คำถามที่พวกเขาถามมักมีแนวโน้มที่จะตื้น และขาดความรู้  สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าเวลาส่วนมาก พวกเขาไม่ได้คิดผ่านเนื้อหาที่เรียนรู้  
          ถ้าพวกเราต้องการคิด พวกเราต้องกระตุ้นความคิดด้วยคำถามที่นำนักเรียนไปสู่คำถามที่เพิ่มเติม  พวกเราต้องเอาชนะอะไรที่โรงเรียนได้ทำกับความคิดของนักเรียนไปก่อนหน้านี้ พวกเราต้องฟื้นฟูความคิดให้กว้างขวางเมื่อได้รับข้อมูลมา พวกเราต้องให้สิ่งที่เรียกว่า ปัญญาที่สร้างขึ้นมาแก่นักเรียน


เกศกนก น้อยจินดา     ภส.๓๐๔
พลอย     ชลันบุรีธรรม ภส.๓๑๙

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น