วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

การแยกแยะระหว่างข้อสรุปและข้อสมมติฐาน

การแยกแยะระหว่างข้อสรุปและข้อสมมติฐาน

    ผู้ที่รู้จักคิดวิเคราะห์เชิงวิจารณญาณคือผู้ที่สามารถคิดได้อย่างเป็นระบบ สามารถคิดวิเคราะห์และประเมินคุณค่าได้ ซึ่งในขั้นแรกนั้น เราจะต้องเข้าใจในองค์ประกอบของการให้เหตุผลเสียก่อน โดยที่องค์ประกอบนั้นๆคือ เป้าหมาย-คำถาม, ข้อมูล, ข้อสรุป-ข้อสมมติฐาน, มุมมอง, แนวความคิดและสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้จะส่งผลต่อความคิดคำนึงของเรา ทั้งยังเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินใจ ถ้าหากสามารถใช้องค์ประกอบเหล่านี้ได้อย่างถูกต้องและสมดุลกัน ก็จะทำให้ความคิดของเรามีประสิทธิภาพและมีเหตุผล
   

ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงองค์ประกอบ2อย่างคือ ข้อสรุปและข้อสมมติฐาน

- ข้อสรุป(Inferences) จะเป็นขั้นตอนของความคิดของเราซึ่งสรุปสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยอิงจากอีกสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นข้อมูลความจริงหรืออาจจะจริง โดยที่การตั้งข้อสรุปนั้นๆอาจยุติธรรมหรือไม่ยุติธรรม มีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผลก็เป็นได้ ยกตัวอย่างเช่น เราเห็นคนถือมีดเดินมา เราคิดว่าคนนั้นจะมาทำร้ายเรา เป็นข้อสรุปที่อิงมาจากเรื่องจริงที่เราเห็น เป็นต้น
- ข้อสมมติฐาน(Assumptions) เป็นสิ่งที่เราคิดหรือทึกทักเอาเอง อาจเป็นความเชื่อภายในจิตใต้สำนึกของเราและส่งผลต่อความคิด โดยที่การตั้งข้อสมมติฐานนั้นๆอาจยุติธรรมหรือไม่ยุติธรรม มีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผลก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับความเชื่อของเรา ยกตัวอย่างเช่น เราเชื่อว่าในเมืองตอนกลางคืนอันตราย จึงทำให้เราคิดว่าเดินในเมืองตอนกลางคืนจะมีอันตราย เป็นข้อสมมติฐานที่มาจากความเชื่อ เป็นต้น

      หลายคนอาจสับสนระหว่างข้อสรุปและข้อสมมติฐาน เนื่องจากเป็นกระบวนความคิดซึ่งต่อเนื่องและสอดคล้องกัน ซึ่งการตั้งข้อสรุปของเรานั้นมักอยู่บนข้อสมมติฐานหรือความเชื่อ

ตัวอย่างเช่น: เรามีความเชื่อว่าในเมืองตอนกลางคืนนั้นมีอันตราย ทำให้เราคิดว่า ‘การเดินในเมืองตอนกลางคืนจะมีอันตราย’ เมื่อเราพบคนเดินถือมีดในเมืองตอนกลางคืน จึงทำให้เราคิดว่า ‘คนนั้นจะเข้ามาทำร้ายเรา’ 
**การที่เราคิดว่า ‘คนนั้นจะเข้ามาทำร้ายเรา’ เป็นการตั้งข้อสรุปโดยอิงจากข้อสมมติฐานที่ว่า ‘การเดินในเมืองตอนกลางคืนจะมีอันตราย’ เป็นต้น

ดังนั้นกล่าวให้เข้าใจโดยง่ายคือ ข้อสรุป เป็นการเห็นในสิ่งที่เชื่อ ข้อสมมติฐาน เป็นการเชื่อในสิ่งที่ยังไม่เห็น

    *** การตั้งข้อสรุปของเรานั้นมักจะมาจากประสบการณ์ที่เราได้รับ ซึ่งในการรับประสบการณ์นั้นจะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ข้อมูลดิบที่เรามี และการแปรข้อมูลออกมา ทำให้ในเหตุการณ์เดียวกัน ต่างคนต่างมีมุมมองที่แตกต่างกันออกไปและมีข้อสรุปที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความเชื่อ
ยกตัวอย่างเช่น: เจอคนนอนอยู่ข้างถนน...

คนที่1 ข้อสรุป : เค้าเป็นคนจรจัด <--- ข้อสมมติฐาน: มีแค่คนพเนจรที่นอนข้างทาง

คนที่2 ข้อสรุป : เค้าไม่สบาย บาดเจ็บ <--- ข้อสมมติฐาน: ใครก็ตามที่นอนอยู่ที่ข้างทางต้องการ                                                                                                        ความช่วยเหลือ
 เป็นต้น

การสั่งการความคิดของตน ขึ้นอยู่กับ การตั้งข้อสรุปและสมมติฐาน 


แม้กระทั่งในกิจวัตรประจำวัน การเตรียมอาหาร รับประทานอาหาร เตรียมตัวเข้าเรียน จ่ายเงิน หรืออื่นๆมากมาย ล้วนเกิดขึ้นจากการตีความ ให้ความหมายและสร้างข้อสรุปกับสิ่งที่เกิดขึ้น


เราต้องเลือกระหว่างความหมายนี้  --- ต้องการพักผ่อนหรือกำลังปล่อยเวลาผ่านไป?
                        มุ่งมั่นในการตัดสินใจหรือแค่ดื้อดึง?
                        กำลังมีส่วนร่วมในการสนทนาหรือพูดแทรก?
                        เขาหัวเราะไปกับฉันหรือหัวเราะเยาะฉัน?

ทุกครั้งที่เราตีความของการกระทำ ทุกครั้งที่เราให้ความหมายกับมัน เรากำลังตั้งข้อสรุปอย่างน้อยหนึ่งข้อบนพื้นฐานของสมมติฐานอย่างหนึ่งหรือมากกว่า 



แล้วตัวเรา? ……….ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ……….


บางครั้งตัวเราเองที่คิดไปเองว่าเป็นสิ่งที่ผิด 

        เช่น    
            -ฉันรีบไปที่ร้านโดยคิดว่าฉันมีเงินมากพอ แล้วก็พบว่าฉันลืมเงินไว้ที่บ้าน
            -ฉันคิดไปเองว่าของลดราคานั้นคุ้มค่า แล้วพบว่ามันถูกปรับราคาขึ้นมาก่อนที่นำมาลดราคาแล้ว
มนุษย์มักตั้งข้อสมมติฐานมากมายโดยไม่รู้ตัว จำนวนมากนั้นมีเหตุผลและเชื่อถือได้ ในขณะที่หลายอันไม่ได้เป็นเช่นนั้น

         มีวิธีการมากมายที่จะช่วยก่อให้เกิดการตระหนักถึงข้อสรุปและสมมุติฐานของผู้เรียน สิ่งหนึ่งที่ควรจะรู้ไว้คือ ทุกการคิดนั้น จำเป็นที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ที่จะตั้งข้อสันนิษฐานที่แม่นยำเกี่ยวกับเนื้อหาที่พวกเขากำลังเรียนอยู่และสามารถที่จะสร้างข้อสรุปที่อ้างเหตุผลได้ในเนื้อหานั้น  ตัวอย่างเช่น ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ผู้เรียนสร้างข้อสรุปโดยมีพื้นฐานมาจากสมมุติฐานทางคณิตศาสตร์ของเขา  ในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนตั้งข้อสรุปจากสมมุติฐานทางวิทยาศาสตร์ ในการผูกเรื่องทางประวัติศาสตร์ พวกเขาต้องข้อสรุปขึ้นจากสมมุติฐานทางประวัติศาสตร์  ในแต่ละกรณี สมมุติฐานที่ผู้เรียนสร้างขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับความเข้าใจในแนวความคิดและทฤษฏีพื้นฐาน

         การฝึกฝนเป็นประจำทุกวันช่วยให้ผู้เรียนเริ่มสังเกตุข้อสรุปที่พวกเขาสร้างขึ้นจากเนื้อหาที่เราสอน  เราสามารถช่วยให้พวกเขาแยกแยะข้อสรุปจากผู้เขียนหนังสือหรือผู้เขียนบทความ  เมื่อพวกเขาสามารถแยกแยะข้อสรุปดังกล่าวได้แล้ว  เราสามารถให้พวกเขาคิดหาสมมุติฐานอันนำมาสู่ข้อสรุปดังกล่าว  เวลาที่เราให้การฝึกฝนเป็นกิจวัตรแก่พวกเขาในการแยกแยะข้อสรุปและสมมุติฐาน  พวกเขาจะเริ่มเห็นว่าข้อสรุปจะไม่สมเหตุสมผลหากข้อสันนิษฐานที่เป็นพื้นฐานนั้นไม่สามารถอ้างเหตุผลได้  พวกเขาจะเริ่มเห็นว่าเมื่อไรก็ตามที่พวกเขาตั้งข้อสรุปขึ้นมา ยังมีข้อสรุปอื่นที่อาจจะสมเหตุสมผลมากกว่าซึ่งพวกเขาอาจสรุปได้  พวกเขาเริ่มเข้าใจว่าข้อสรุปที่มีคุณภาพมาจากการให้เหตุผลที่มีคุณภาพ

         ในแต่ละกรณี สมมติฐานที่สร้างขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับความเข้าใจในแนวความคิดและทฤษฐีพื้นฐาน  การฝึกฝนทุกวันทำให้แยกแยะข้อสรุปได้ และทำให้คิดหาสมมติฐานมาสู่ข้อสรุปดังกล่าว ไปจนถึงขอบเขตข้อสรุปที่สามารถใช้ได้
          เช่น
                สมเหตุผลหรือเปล่าที่ฉันคิดว่าทุกวันทานอาหารเที่ยงตอนสิบสองนาฬิกา?
        สมเหตุผลหรือเปล่าที่ฉันเข้าใจว่าฝนจะตกทุกครั้งที่มีเมฆสีดำบนท้องฟ้า?




ชนิกา ณรงคนานุกุล 5434408925 LA308
ชนินทร์  ชีระนังสุ 5434409525 LA309
ภัทรา วงศ์สันติเมธ 5434428425 LA327



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น