วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์และการประเมินด้วยการคิด


The Analysis & Assessment of Thinking

การวิเคราะห์และการประเมินด้วยการคิด

หลักการสำคัญ สำหรับการพัฒนาตนเองให้เป็นนักคิดที่มีประสิทธิภาพ เที่ยงตรงและมีความยุติธรรม แบ่งออกเป็น 2 ข้อใหญ่

1. สามารถแยกแยะส่วนประกอบของความคิดได้

2. สามารถประเมินได้ว่าส่วนประกอบของความคิดนั้นมีคุณค่าและสามารถ
    นำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร

การพัฒนาทักษะการใช้เหตุผล ประกอบไปด้วยแนวทางความคิด 8 ประการ

1. การใช้เหตุผลต้องมีเป้าหมาย
2. การใช้เหตุผลต้องตอบโจทย์และแก้ปัญหาได้

3. การใช้เหตุผลมาจากการตั้งสมมติฐาน
4. การใช้เหตุผลมาจากมุมมองบางอย่าง

5. การใช้เหตุผลขึ้นอยู่กับข้อมูล ข่าวสาร และหลักฐาน

6. การใช้เหตุผลแสดงออกให้เห็นเป็นรูปร่างผ่านทางแนวคิด (concept) และมโนคติ (idea)
7.
การใช้เหตุผลประกอบไปด้วยการอนุมานหรือการตีความ โดยการตั้งข้อสรุปและให้ความหมายแก่ข้อมูลนั้นๆ
8. การใช้เหตุผลต้องนำไปสู่ประเด็นใดประเด็นหนึ่ง


 

การมีความคิดเป็นเหตุเป็นผลขึ้นอยู่กับว่า
เรามีทักษะมากน้อยเพียงใดในเรื่อง

ความถูกต้อง ความแม่นยำ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ 
การคิดให้กว้าง การมีเหตุผล

 

โดยแนวทางความคิดทั้ง 8 ประการนี้จะช่วยให้เราสามารถพัฒนาตนเองในเรื่องการใช้เหตุผลได้ดียิ่งขึ้น

1. การใช้เหตุผลต้องมีเป้าหมาย
                - ควรใช้เวลาไตร่ตรองถึงเป้าหมายให้ชัดเจน
                - แยกแยะเป้าหมายหลักจากผลพลอยได้
                - คอยตรวจสอบให้ทำตามเป้าหมาย
                - เลือกเป้าหมายที่สำคัญและเป็นไปได้จริง

2. การใช้เหตุผลต้องตอบโจทย์และแก้ปัญหาได้
                - ทำความเข้าใจกับคำถามให้ชัดเจน
                - ตีโจทย์ออกมาหลายรูปแบบเพื่อชี้ให้เห็นถึงความหมายที่
                แท้จริงและจุดสำคัญที่ควรพิจารณา
                - แบ่งออกเป็นคำถามย่อย
                -
หากคำถามนั้นมีเพียงคำตอบเดียว ต้องระบุให้ชัดเจนว่า
                  เป็นคำตอบที่มีจากความคิดเห็น หรือต้องใช้เหตุผลจาก
                  หลายมุมมอง

3. การใช้เหตุผลมาจากการตั้งสมมติฐาน
                - ระบุสมมติฐานให้ชัดเจนและตรวจสอบว่าสามารถใช้อ้างเป็น
                  เหตุผลได้
               
- พิจารณาว่าสมมติฐานนั้นสามารถสร้างมุมมองได้อย่างไร

4. การใช้เหตุผลมาจากมุมมองบางอย่าง
                - ระบุมุมมองให้ชัดเจน
               
- มองหามุมมองอื่น โดยพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสีย
                - มองอย่างเป็นกลาง

5. การใช้เหตุผลขึ้นอยู่กับข้อมูล ข่าวสาร และหลักฐาน
                - จำกัดขอบเขตการอ้างถึงสิ่งใดๆภายใต้ขอบเขตข้อมูลที่คุณมี
                - สืบค้นและศึกษาข้อมูลที่แตกต่างจากมุมมองของคุณ
                  เช่นเดียวกับที่สืบค้นข้อมูลที่สนับสนุนมุมมองนั้นๆของคุณ

                - คุณต้องแน่ใจว่าข้อมูลข่าวสารทั้งหมดนั้นชัดเจน แม่นยำ
                  และตรงประเด็น
                - คุณต้องแน่ใจว่าคุณได้รวบรวมข้อมูลข่าวสารทั้งหมดอย่าง
                  เพียงพอแล้ว

6. การใช้เหตุผลแสดงออกให้เห็นเป็นรูปร่างผ่านทางแนวคิด (concept) และมโนคติ (idea)
                - ระบุแนวคิดสำคัญและอธิบายแนวคิดเหล่านั้นอย่างชัดเจน
                - พิจารณาแนวคิดอื่นๆหรือคำจำกัดความอื่นๆของแนวคิดนั้น
                - ต้องแน่ใจว่าคุณได้นำแนวคิดมาใช้ประโยชน์อย่างระมัดระวัง
                   และเที่ยงตรง

7. การใช้เหตุผลประกอบไปด้วยการอนุมานหรือการตีความ โดยการตั้งข้อสรุปและให้ความหมายแก่ข้อมูลนั้นๆ
                - อนุมานจากเพียงสิ่งที่หลักฐานที่มีส่อความ
                - ตรวจสอบการอนุมานเพื่อภาวะแนบนัยต่อกันของข้อมูล
                - ระบุสมมติฐานที่นำไปสู่ข้ออนุมานของคุณ

8. การใช้เหตุผลต้องนำไปสู่ประเด็นใดประเด็นหนึ่งหรือมีการส่อความและผลสรุป   
                - ติดตามการส่อความและผลสรุปอันเป็นผลมาจากการใช้
                  เหตุผลของคุณ
                - สืบค้นความหมายโดนนัยในเชิงลบเช่นเดียวกับในเชิงบวก
                - พิจารณาผลสรุปทั้งหมดที่เป็นได้



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น