วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

มาเป็นนักวิจารณ์ความคิดกันเถอะ!

มาเป็นนักวิจารณ์ความคิดกันเถอะ!

Becoming a Critic Of Your Thinking

by Dr. Linda Elder and Dr. Richard Paul
Learning the Art of Critical Thinking


ไม่มีอะไรที่จะธรรมดาไปกว่าเสียงความคิดในหัวของพวกเราเอง ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์หรือมีเป้าหมายแบบใด ไม่ว่าอยู่ที่ไหน  ไม่ว่ากำลังเผชิญกับปัญหาอันใด คุณจะผ่านมันไปได้ถ้าคุณมีทักษะทางความคิดที่ดีเพียงพอ ในฐานะผู้จัดการ ผู้นำ พนักงาน ประชาชน เพื่อน หรือพ่อแม่ ในทุกจุดและเหตุการณ์ในชีวิต ความคิดที่ดีช่วยคุณได้ แต่ในทางตรงกันข้าม ความคิดที่ไม่ดี มีแต่จะสร้างปัญหาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้   ทำให้เสียเวลาและพลังงาน ก่อให้เกิดแต่ความสับสนละความเจ็บปวด

การคิดเชิงวิจารณ์นั้นเป็นศิลปะที่ต้องฝึกฝนอย่างหนึ่งที่จำให้คุณมั่นใจว่าได้ใช้แนวทางคิดที่ดีที่สุดต่อสถานการณ์ทุกรูปแบบ เป้าหมายทั่วไปของความคิดคือ “หารากฐานของพื้นที่จะยืน” ในทุกสถานการณ์ที่เราต้องประสพพบเจอ เราทุกคนมีทางเลือกมากมาย แต่เราต้องการข้อมูลที่ดีที่สุดเพื่อเลือกทางเลือกที่ถูกต้อง

แล้วตอนนี้ล่ะ จริงๆแล้วตอนนี้กำลังอะไรเกิดขึ้น เขากำลังเอาเปรียบเราอยู่หรือเปล่า เขาสนใจ เป็นห่วงเราจริงๆ เหรอ เรากำลังหลอกล่อตัวเองให้เชื่อแบบนั้นหรือเปล่า อะไรคือผลลัพท์ความล้มเหลวที่จะขึ้น นี่คือปัญหาที่ใหญ่ที่สุด หรือฉันควรจะให้ความสนใจกับสิ่งอื่นมากกว่ากันแน่

การตอบคำถามเหล่านี้ได้คือความสำเร็จประจำวันทางความคิด อย่างไรก็ตาม การจะเพิ่มคุณภาพของความคิดของตนเองนั้น คุณต้องเรียนรู้ที่เป็น “นักวิจารณ์” ที่มีประสิทธิภาพต่อความคิดของตนเอง ซึ่งการจะบรรลุถึงจุดนั้นได้ คุณต้องสามารถเรียงลำความสำคัญของความคิดของตนเองเสียก่อน

ลองถามตนเองแบบนี้ (อาจจะผิดปกติสักเล็กน้อย) : คุณได้เรียนรู้อะไรจากวิธีคิดของคุณ คุณเคยศึกษาความคิดตนเองมไหม คุณรู้อะไรเกี่ยวกับกระบวนการจัดการข้องมูลข่าวสารของสมอง จริงๆ แล้วคุณรู้อะไรเกี่ยวกับ  วิธีการวิเคราะห์ ประเมินค่า และจัดกระบวนความคิดใหม่ ความคิดคุณมาจากที่ไหน ความคิดของคุณมีคุณภาพ “ดี” แค่ไหน  คุณภาพ “แย่” แค่ไหน ความคิดของคุณกำกวม ไร้สาระ ไม่แน่นอน ไม่แม่นยำ ไร้ตรรกะ หรือเกินจริงขนาดไหน  คุณสามารถควบคุมความคิดตนเองได้อย่างจริงจังแค่ไหน คุณทราบวิธีการตรวจสอบมันไหม คุณมีสติพอไหมที่จะตัดสินว่าตนเองกำลังคดได้อย่างดีหรืออย่างแย่  คุณเคยหาปัญหาในความคิดคุณเจอ และสามารถเปลี่ยนการกระทำบางอย่างทันไหม แล้วถ้ามีใครสักคนถามคุณให้สอนสิ่งที่คุณเรียนรู้มาตลอดชีวิตเกี่ยวกับความคิด คุณจะสามารถตอบเขาได้ไหมว่าได้เรียนรู้อะไรมาบ้างหรือเรียนรู้ได้อย่างไร

ถ้าคุณเป็นคนส่วนใหญ่ คำตอบที่ซื่อตรงที่สุดสำหรับคำถามนี้จะกลายเป็นประโยค “จริงๆ แล้ว ฉันไม่ได้รู้อะไรมากมายเกี่ยวกับความคิดหรือจิตใจของตัวเองหรอกนะ ฉันเดาว่าฉันยึดถือความคิดของตนเองเป็นที่ตั้งไม่มากก็น้อย ฉันไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันทำงานอย่างไร ฉันไม่ตรวจสอบมัน และไม่รู้วิธีตรวจสอบด้วย เมื่อคิดอะไรได้ ความคิดมันก็จะออกมาอย่างอัตโนมัติ”


การศึกษาเรื่องของความคิดอย่างจริงจังเป็นเรื่องสำคัญ ถึงแม้มันจะไม่ใช่วิชาที่หาเรียนกันง่ายๆ ไม่ใช่วิชาที่สอนกันทั่วไปตามวิทยาลัยต่างๆ ก็ตาม นานครั้ง ถึงจะพบเจอการคิดถึงวัฒนธรรมของตัวเอง แต่ถ้าคุณมุ่งเน้นความสนใจของคุณถึงบทบาทที่ความคิดของคุณมีต่อเรื่องราวในชีวิต คุณอาจจะเข้าใจได้ว่า จริงๆ แล้ว ทุกสิ่งที่คุณทำ คุณต้องการ คุณรู้สึกนั้น ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากความคิดของคุณทั้งสิ้น และยิ่งถ้าคุณเข้าใจถึงสิ่งนี้อย่างถ่องแท้แล้ว คุณจะยิ่งแปลกใจยิ่งกว่าเดิมว่าทำไมมนุษย์ช่างไม่สนใจความคิดเอาเสียเลย

การสร้างคุณภาพของความคิดคุณอย่างจริงจังนั้น คุณจะต้องทดลองเจอกับงานที่มนุษย์ทั่วไปรู้สึกไม่ชอบ ถ้าไม่เจ็บปวด ก็ต้องเป็นเรื่องที่ยากและท้าทายความคิด และเมื่อความคิดนั้นได้เกิดขึ้นและเราได้พัฒนาความคิดของตนเองขึ้นไปสู่อีกระดับหนึ่ง ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะรักษาระดับนั้นไว้ แต่ก็ยังต้องมีสิ่งที่คุณต้องเสียไปเพื่อก้าวข้ามไปสู่อีกระดับหนึ่ง  ไม่มีใครสามารถเป็นนักวิจารณ์ความคิดมืออาชีพในภายในช่วงเวลาข้ามคืนเฉกเช่นนักดนตรีหรือนักบาสเก็ตบอลที่จะมีทักษะสูงภายในเวลาเพียงน้อยนิดเช่นกัน การจะเป็นคนที่มีความคิดดีขึ้น คุณจะต้องเต็มใจที่จะนำงานของตนเองเข้าไปสู่ความคิดซึ่งการปรับปรุงความสามารถต้องการเสมอ

สิ่งนี้แปลว่าคุณจะต้องเต็มใจที่จะฝึกฝน “การกระทำ” ของความคิด ซึ่งในช่วงแรกว่าแน่นอน จะตะต้อง “ไม่สบายใจ” นัก และบางครั้งอาจท้าทายและยากลำบาก แต่คุณจะต้องทำโดยใช้จิต “เคลื่อน” ไปตามด้วยการฝึกฝนและรอฟังผลลัพท์ เช่นเดียวกับวิธีที่นักกีฬาฝึกร่างกายของพวกเขา การพัฒนาทางความคิดนั้น หรืออีกนัยหนึ่ง มีความเหมือนกับความสามารถอื่นๆ ที่จะสามารถได้มาด้วยการพึ่งพิงทฤษฎี ความตั้งใจ การทุ่มเททำงานหนัก และการฝึกฝน

เมื่อพิจารณากับแนวคิดสำคัญ ที่นำมาประยุกต์ใช้แล้ว ความคิดเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิธีล้านแปด ที่นักคิดที่มีทักษะสูง จะสามารถนำตัวทฤษฎี มาประยุกต์ปรับใช้กับจิตใจของตนเองเพท่อทำให้คิดดีขึ้น ในตัวอย่างนี้ เราให้ความสนใจกับความคิดที่กระจ่าง ความคิดที่เข้าประเด็น (คิดให้มีความเกี่ยวข้องกัน) การตั้งคำถามลึก และพยายามเป็นคนที่มีเหตุมีผล ในแต่ละตัวอย่าง เราจะนำภาพรวมโดยคร่าวของแนวความคิดและความสำคัญในเชิงความคิด  รวมถึงกลยุทธมาใช้ในชีวิตประจำวัน เมื่อเราตระหนักว่าความคิดเหล่านั้นรวมกันอยู่กันเป็นกลุ่มก้อนภายในความคิดเชิงวิจารณ์ แม้ว่าเราจะเลือกแนวความคิดออกมาอย่างหนึ่ง ก็ยังจะมีความคิดอย่างอื่นที่ควรถูกเลือกออกมาอยู่ดี มันไม่มีเวทย์มนตร์หรือกฎตายตัวในเรื่องแบบนี้ กล่าวสั้นๆ คือ มันสำคัญที่คุณจะต้องเข้าใจว่าความคิดทั้งหมดเป็นตัวอย่างที่เป็นไปได้ที่จิตใจสามารถเลือกนำมาคิด และก่อให้เกิดการกระทำที่ดีขึ้นต่อโลกใบนี้



1). ทำความคิดของคุณให้ชัดเจน

พยายามหนีความคิดที่กำกวม วุ่นวาย ไม่มีรูปแบบ หรือพร่ามัว พยายามหาความหมายของสิ่งที่ผู้คนอื่นพูดกัน มองที่เบื้องหน้า และมองลงลึกเข้าไปข้างใน พยายามหาความหมายที่แท้จริงของเรื่องสำคัญใหม่ อธิบายความเข้าใจของคุณต่อผู้อื่นเพื่อช่วยสร้างกระจ่างให้กับสมองของตัวคุณเอง ฝึกฝนการสรุปคำพูดของคนอื่นให้เป็นรูปแบบคำพูดของตนเองให้ได้ และถามเขาว่าคุณเข้าใจเขาถูกหรือไม่ คุณไม่ควรเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับความคิดของใครจนกว่าคุณจะเข้าใจความคิดของเขา (อย่างถ่องแท้)

เรามักเข้าใจเข้าใจไปเองว่าความคิดของตนเองนั้นชัดเจนถูกต้องแล้ว แม้ในยามที่มันไม่เป็นเช่นนั้นก็ตาม แต่ความคิดที่กำกวม ไม่ชัดเจน สกปรก หลอกลวง หรือเข้าใจผิดนั้นเป็นปัญหาทั่วๆ ไปของชีวิมนุษย์เรา ถ้าเราจะพัฒนาตนเป็นนักคิด เราต้องเรียนรู้ศิลปะของการคิดให้กระจ่าง ปักหมุดประเด็น และให้ความหมายเฉพาะเจาะจงกับมัน ในช่วงเริ่มต้น สิ่งที่คุณทำได้คือ เมื่อมีใครมาอธิบายอะไรสักอย่างกับคุณ คุณควรจะสรุปสิ่งนั้นเป็นภาษาของคุณเอง  ในกรณีที่เค้าไม่เข้าใจ หรือไม่พอใจในสิ่งที่คุณพูด หรือไม่เข้าใจคำพูดคุณ ลองทำดู แล้วรอดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น

กลยุทธในการสร้างความกระจ่างให้ความคิด

- อยู่ที่ประเด็นเดิมตลอดเวลา
- ลงรายละเอียดในสิ่งที่คุณหมายความถึง
- ให้ตัวอย่าง เชื่อมโยงความคิดคุณกับประสบการณ์ชีวิต
- ใช้การเปรียบเทียบ อุปาอุปมัยในการเชื่อมสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยเฉพาะสิ่งที่คุณเข้าใจอยู่แล้ว (เช่น การคิดเชิงวิจารณ์คือหัวหอม หัวหอมมีหลายชั้น เมื่อสิ่งพื้นฐานถูกบรรลุแล้ว คุณจะพบว่ายังมีหัวหอมเหลืออยู่อีกหลายชั้น และจะเป็นแบบนี้เรื่อยไป)

รูปแบบที่นำมาปรับใช้ได้

- ฉันคิดว่า (อยู่ที่ประเด็นของตัวเอง
- ในอีกนัยหนึ่ง (ลงรายละเอียด)
- ตัวอย่างเช่น (ให้ตัวอย่างกับประเด็นนั้นๆ)
- ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว (จำลองประเด็นนั้นขึ้นมา)

เมื่อพยายามทำความคิดของคนอื่นให้ชัดเจน ลองถามคำถามต่อไปนี้

- ลองพูดข้อความตรงนี้ด้วยคำอื่นได้ไหม ฉันไม่เข้าใจ
- ของตัวอย่างได้หรือไม่
- ช่วยลองฟังความเข้าใจของฉันเกี่ยวกับคำพูดคุณ ฉันเข้าใจถูกหรือเปล่า

2). อยู่ที่ประเด็นเสมอ

มองไปที่ประเด็นที่แตกออกมา มองในสิ่งที่ไม่ถูกหลักตรรกะที่ถูกต้อง ลองเริ่มสังเกตเมื่อคุณหรือผู้อื่นไม่สามารถอยู่กับประเด็นเดิมหรือสิ่งที่เกี่ยวข้องได้ การมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่จะแก้ไขประเด็นจะช่วยแก้ไขปัญหาได้ เมื่อมีใครสักหยิบยกประเด็นขึ้นมาที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่กำลังพูดคุยกัน (แม้ว่ามันจะถูกก็ตาม) ให้ลองถามดูว่า “สิ่งที่คุณพูดอยู่นั้นมันเกี่ยวกับประเด็นตรงไหน” เมื่อคุณทำงานอยู่กับปัญหา ทำให้แน่ใจว่าคุณกำลังแก้ไขปัญหาอย่างถูกจุด อย่าปล่อยจิตของคุณท่องเที่ยวไปอย่างไร้จุดหมายในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้อง อย่าให้สิ่งอื่นมาอยู่เหนือประเด็นหลัก จงถามบ่อยๆ ว่า “คำถามหลักของเราคืออะไร” “สิ่งนั้นเกี่ยวข้องด้วยหรือ” “อย่างไรล่ะ”

ทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับประเด็น จับมันแยกมาจากสิ่งที่ไม่ใช่สาระ ม่เหมาะสม หรือเกินความจำเป็น และนอกเหนือจากประเด็นแล้ว สิ่งที่เกี่ยวข้องจะช่วยในการแก้ไขปัญหาโดยตรง เมือ่สติหลุดลอยออกจากประเด็นหลัก จะต้องรีบนำมันกลับมาให้เร็วที่สุด ความคิดที่ไม่ดีคือความคิดที่เกิดขึ้นจากการเป็นหมู่คณะ หรือมาเป็นเร่องราวปะติดปะต่ออย่างไม่ถูกต้อง (ก กับ ข ถูก แสดงว่า ค ต้องถูก) ความคิดเหล่านี้จะต้องถูกแยกแยะให้ถูกต้อง

ลองถามคำถามเหล่านี้เพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งที่มุ่งให้ความสนใจอยู่นั้นถูกต้อง

- เป็นอย่างนั้นได้อย่างไร
- ข้อมูลของฉันเกี่ยวกับปัญหาหรืองานอย่างไร
- ฉันต้องให้ความสนใจที่ไหน
- เรากำลังถูกเบนออกจากประเด็นหรือเปล่า
- เรากำลังล้มเหลวที่จะนำเสนอประเด็นที่ถูกต้องหรือไม่
- ประเด็นที่เรามีอยู่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่พูดถึงอย่างไร
- ความจริงเหล่านี้ช่วยทำให้ตอบคำถามได้อย่างไร
- แล้วคำถามนี้ช่วยแก้ปัญหาได้จริงๆ หรือ


3). ถามคำถาม

มองหาคำถามอยู่เสมอ อันที่เราถาม อันที่เราล้มเหลวที่จะถาม มองที่ผิวหน้าของคำถาม มองภายใต้ลึกลงไปข้างใน ฟังในสิ่งที่คนอื่นถาม สิ่งที่เขาถาม สิ่งที่เขาล้มเหลวที่จะถาม มองที่ตัวคามที่ถูกถามออกไป คำถามคืออะไร ควรถามหรือไม่ ศึกษาให้ลึกถึงตัวผู้ถูกถาม หรือคนที่กำลังรับสถานการณ์ที่คนอื่นมอบให้นั่นเอง

คนส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้ถามคำถามที่ดี ส่วนมากจะจะยอมรับโลกเท่าที่พวกเขาพบเห็น และเมื่อพวกเราเริ่มถาม คำถามเหล่านั้นก็มักจะกลายเป็นจำพวก “ไม่จำเป็น” เพราะมันไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาหรือช่วยให้ตัดสินใจให้ดีขึ้นแต่อย่างไร นักคิดที่ดีมักจะถามคำถามที่ทำให้เขาจัดการกับโลกภายนอกได้อย่างเป็นกิจวัตร เขาจะเข้าใจว่าบางทีโลกก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เห็นเสมอไป ถามถามจึงเจาะลึกถึงรูปภาพ หน้ากาก การเผชิญหน้า รวมถึงความขัดแย้ง คำถามของพวกเขาจะทำให้มองเห็นปัญหาที่จะได้แก้ให้ตรงจุดและและกระจ่าง ถ้าคุณหัดเรียนรู้ที่จะถาม คุณจะสามารถถามคำถามที่ทรงพลังที่ทำให้ชีวิตเติมเต็มมากขึ้น คำถามจะมีความเป็นพื้นฐาน หากแต่สำคัญและลึกซึ้ง

กลยุทธ์ในสร้างสร้างคำถามที่ทรงพลัง

- เมื่อใดที่ไม่เข้าใจข้อมูล จงถามคำถามเพื่อความชัดเจน
- เมื่อคุณต้องจัดการกับปัญหาที่ซับซ้อน สร้างคำถามที่คุณพยายามจะหาคำตอบในหลายรูปแบบ (และให้แม่นยำที่สุดเท่าที่จะทำได้) จนกว่าคุณจะหาทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาเจอ
- เมื่อคุณวางแผนที่จะอภิปรายในเรื่องราวหรือปัญหาที่สำคัญ เขียนคำถามที่ชัดเจนและที่คุณต้องการที่สุด เตรียมพร้อมในการเปลี่ยนคำถามหลักเสมอ แต่ทำแต่ละคำถามให้กระจ่าง  พยายามทำให้การอภิปรายแต่ละครั้งมีประเด็นหลักอยู่ที่ตัวคำถาม และทำให้บทสนทนาที่สู่คำตอบนั้นสมเหตุสมผล

คำถามที่ช่วยจัดระเบียบวินัยให้ความคิดของคุณ

- คำถามอะไรกันแน่ที่เราต้องการคำตอบ
- นั่นเป็นคำถามที่ดีที่สุดในสถานการณ์นั้นหรือไม่
- มีคำถามที่สำคัญควรถามเพิ่มหรือไม่
- คำถามนั้นมีผลต่อเรื่องที่เรากำลังผเชิญจริงหรือไม่
- มีคำถามอะไรอีกหรือไม่ที่ตัวเราเองต้องตอบก่อนตั้งคำถามอื่น
- ข้อมูลข่าวสารอะไรที่เราต้องการเพื่อจะตอบคำถาม
- ข้อสรุปอะไรที่ดูเป็นตัวตัดสิน
- อะไรคือประเด็น เราต้องหาประเด็นเพิ่มหรือไม่
- มีการมองคำถามจากมุมอื่นหรือไม่
- มีคำถามเกี่ยวข้องอีกหรือไม่
- คำถามนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร เศรษฐกิจ การเมือง หรือกฎหมาย


4). มีเหตุมีผล

พยายามเป็นคนกลาง และมองไปรอบๆ การกระทำต่างๆ ทั้งที่มีและไม่มีเหตุผลของตนเองและผู้อื่น ดูที่เบื้องหน้า และมองให้ลึกไปกว่านั้น ฟังในสิ่งที่คนอื่นพูด และสังเกตดีๆ กับสิ่งที่เขาทำ มองในเวลามี่เขาไม่เต็มใจที่จะฟังความคิดของใคร เมื่อคุณเริ่มรู้สึกว่าตัวเองถูกอยู่ฝ่ายเดียว ลองถามตนเองดูเผื่อว่าคำวิจารณ์เหล่านั้นจะมีประโยชน์ ก็ได้หากคุณทำลายเกราะที่ปกป้องตนเองอยู่แล้วหันมารับฟัง ลองดูความไม่มีเหตุผลของคนอื่น เจาะลึกว่าภาษาหรือสำนวนที่เขาใช้มีตรงไหนที่ทำให้มันดูไม่สมเหตุสมผล ทั้งๆ ที่จริงแล้วสิ่งที่เขาทำอยู่อาจจะถูกต้องก็เป็นได้ ลองเปิดใจดูสิ

ตัวคุณเองก็ต้องเปิดใจ พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง เมื่อมีเหตุผลอันสมควร นักคิดที่ดีต้องการที่จะเปลี่ยนแนวทางการคิดของตนเอง เมื่อค้นพบความคิดที่ดีกว่า แต่ทุกวันนี้น้อยคนนักที่จะตัดสินใจทำแบบนั้น เพราะส่วนใหญ่เมื่อฟังความเห็นของคนอื่นที่ขัดแย้งกับตนเองก็จะถืออคติไว้ก่อน  คุณประเมินตนเองในเรื่องนี้ไว้ที่จุดไหน

กลยุทธ์ในการเป็นคนมีเหตุมีผล

กล้าพูดออกมาดังๆ เลยว่า ฉันไม่สมบูรณ์แบบ ฉันมีข้อผิดพลาด ฉันผิดบ่อยไปด้วยซ้ำ กล้าที่จะเอ่ยแบบนี้เมื่อมีข้อไม่ตกลงกันมั้ย แน่นอน ฉันอาจจะผิด แต่ฉันอาจจะถูกก็เป็นได้

ฝึกฝนการย้ำเตือนสิ่งนี้ในใจ ว่าฉันอาจจะถูก ฉันอาจจะผิด ฉันพร้อมที่จะเปลี่ยนใจเมื่อพบเจอเหตุผลที่ดี  และมองหาโอกาสที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงนั้น

ถามตนเองว่า ครั้งสุดท้ายที่ฉันเปลี่ยนใจเพราะมีคนให้เหตุผลดีๆ นั่นมันเมื่อไหร่  (หรือเปลี่ยนมุมมองต่อสิ่งต่างๆ ตั้งแต่เมื่อไร) อะไรกันที่จะสามารถมาหักล้างความคิดที่คุณนั้นเชื่อมั่นอยู่แล้ว

จงเข้าใจว่าคุณเป็นคนไม่เปิดใจ หากมีอาการดังนี้

ก. ไม่เต็มใจที่จะฟังเหตุผลของคนอื่น
ข. รำคาญกับข้อโต้แย้งต่างๆ
ค. รู้สึกเข้าข้างตัวเองระหว่างการอภิปราย

หลังจากพบว่าตัวเองนั้นปิดใจอยู่ ลองวิเคราะห์ว่าเกิดอะไรขึ้นในใจคุณโดยใช้ประโยคเหล่านี้เข้าช่วย


ก. ฉันตระหนักว่าตัวเองอยู่ในสถานการณ์ปิดใจเพราะ...
ข. ความคิดที่ฉันกำลังยึดติดอยู่คือ....
ค. ความคดที่มีศักยภาพดีกว่าคือ...
ง. ความคิดนี้ดีกว่าเพราะ...



ก่อนจะจบบทความนี้ ขอย้ำเตือนว่าสิ่งที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งอันน้อยนิดของอีกหลากหลายรูปแบบที่นักคิดจะใช้ในการพิจารณาได้  นักคิดที่ดีที่สุดคือคนที่เข้าใจการพัฒนาของความคิดเป็นระบบที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝนนับหลายปี เขาเห็นความจำเป็นของการเรียนรู้จิตใจ ความคิด ความรู้สึก ความปรารถนาของคนโดยถ่องแท้.

เรามักประสบปัญหาเพราะความคิดจากการ...

รีบเข้าข้อสรุป
ไม่มองสิ่งที่เกี่ยวข้อง
หลงประเด็น
คิดแบบไม่เป็นจริง
สนใจด้วยอารมณ์
มองไม่เห็นข้อขัดแย้ง
รับข้อมูลที่ไม่แม่นยำ
ถามคำถามกำกวม
ให้คำถามกำกวม
ถามคำถามที่ไม่จำเป็น
ถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้อง
งงกับคำถามหลายประเภท
ตอบไม่ตรงคำถาม
ใช้ข้อสรุปที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นเริ่มต้น
เพิกเฉยข้อมูลที่ไม่ตรงความคิดตนเอง
อ้างองไม่ถูกจุด
บิดเบือนข้อมูลให้ไม่แม่นยำ
ไม่สังเกตตัวอ้างอิง
มีข้อสรุปไม่สมเหตุสมผล
ไม่สนใจสมมติฐาน
ใช้ข้อสันนิฐานที่ไม่ยุติธรรม
หลุดประเด็นสำคัญ
ใช้ข้อมูลไม่เกี่ยวข้อง
สร้างแนวความคิดชวนสับสน
มีแนวความคิดเกินจริง
ใช้คำพูดไม่ถูกต้อง
เพิกเฉยต่อข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ไม่เห็นความสำคัญในความคิดเห็นของคนอื่น
สับสนกับประเด็นต่างๆ
ไม่รู้ถึงอคติของตนเอง
ความคิดแคบ
คิดไม่แม่นยำ
คิดไม่มีตรรกะ
มองโลกข้างเดียว
คิดพื้นๆ เกินไป
คิดน้อยเกินไป
คิดมากเกินไป
คิดเข้าข้างหมู่คณะ
คิดด้วยอัตตาของตนเอง
แก้ปัญหาได้อย่างแย่
ตัดสินใจแย่
มีตัวติดต่อสื่อสารที่แย่
ไม่รู้ถึงความไม่รู้ของตนเอง

เหตุแห่งชีวิตไร้ประสิทธิภาพ

คนส่วนใหญ่นั้นไม่ทราบเลยว่าการดูแลชีวิตของตนเองให้ดีมีค่าเพียงใด ไม่ตระหนักว่าคุณภาพของชีวิตตนขึ้นอยู่กับคุณภาพของความคิดขนาดไหน เราใช้วิธีเหล่านี้เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะไม่ต้อง “คิด” แก้ปัญหา ลองดูการกระทำต่อไปนี้แล้วสังเกตว่ามีกี่ข้อกันที่คุณกำลังทำมันอยู่

1. อยู่ท่ามกลางคนที่คิดเหมือนคุณ จะได้ไม่มีใครมาวิจารณ์ความคิด
2.ไม่ถามถึงความสัมพันธ์ จะได้ไม่ต้องแก้ปัญหาภายในนั้น
3. ถ้าถูกวิจารณ์โดยเพื่อน หรือคนที่เรารัก จะรู้สึกเสียใจ ไม่ยอมรับ แล้วกล่าวว่า “นึกว่าเราเป็นเพื่อนกัน” หรือ “นึกว่าเธอเป็นเพื่อนฉันเสียอีก”
4. เมื่อทำอะไรที่ไม่สมเหตุสมผล จะมีข้ออ้างเตรียมพร้อมไว้เสมอ จะได้ไม่ต้องรับผิดชอบ ถ้านึกข้ออ้างไม่ออก ก็จะทำหน้าเศร้าแล้วบอกว่า “ช่วยไม่ได้จริงๆ ที่ฉันเป็นแบบนี้”
5. สนใจแต่ด้านแย่ๆของชีวิต เพื่อที่จะได้เศร้าโศกแล้วโทษคนอื่น
6. เมื่อเกิดข้อผิดพลาด จะเลือกที่จะโทษคนอื่น ไม่ก็ไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งนั้น
7. เมื่อมีใครวิจารณ์จะโจมตีกลับทันที ไม่คิดจะฟังอะไรทั้งนั้น
8. ใครในกลุ่มว่าอย่างไร ก็จะเห็นด้วยตามนั้น จะได้ไม่ต้องคิดอะไรเอง
9. อารมณ์เสียเมื่อไม่ได้สิ่งที่ตนเองต้องการ ถ้ามีใครถาม ก็จะตอบว่า (อารมณ์ฉันมันขึ้นๆ ลงๆ แบบนี้ละ อย่างน้อยฉันก็ไม่จำเป็นต้องเก็บความรู้สึก)
10. สนใจแต่สิ่งที่ตนเองต้องการ “ถ้าฉันไม่สนใจในสิ่งนี้ ใครจะสนใจ”

จากที่เห็น รายการเหล่านี้ดูน่าขำขัน เหมือนจะไม่มีผลใดๆ ต่อชีวิต แต่จริงๆ แล้วมันมีผลอย่างมาก และบ่อยครั้งที่เราพบกับความงี่เง่าของเรื่องเหล่านี้ในเวลาทำงาน เรามีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงมัน และสิ่งเหล่านี้จะเปลี่ยนได้ก็ต่อเมื่อคุณเต็มใจเท่านั้น



น.ส.จิดาภา โชติดิลก  ภส.306
น.ส.ศศิพิมพ์ อิสระวัฒนา  ภส.333

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น