วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

การคิดแบบมีแนวความคิด














T H I N K I N G  W I T H  C O N C E P T S
การคิดแบบมีแนวความคิด

      แนวความคิดอยู่รอบๆตัวเราเหมือนกับอากาศที่เราหายใจ เคล็ดลับของการคิดคือ เราต้องคิดแนวความคิดโดยคิดจากหลายสิ่ง หลายมุมมอง  สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดไอเดียและ ไอเดียจะหลอมรวมกันเป็นแนวความคิด ยิ่งคิดจากหลายๆคน จะทำให้ แนวความคิดนั้น แข็งแกร่งยิ่งขึ้น เพราะเกิดจากไอเดียและ มุมมองของคนหลายๆคน
      มนุษย์เราได้รับประสบการณ์ทุกสิ่งทุกอย่างส่วนใหญ่จากสิ่งที่ ถูกตีความ และให้ความหมายมาแล้ว มันจะทำให้เราจดจำสิ่งๆนั่นได้อย่างดี(เป็นเหตุให้แนวความคิดนั้นสำคัญ)
      เราใช้ชีวิตปกติเรื่อยๆมาป็นประจำและใช้ชีวิตเป็นกิจวัตรโดยไม่รู้สึกถึง กระบวนการและที่มา ในชีวิตประจำวันของเราเราทำทุกสิ่งโดยไม่ค่อยได้พบเห็นกับคำว่าแนวความคิด แต่ถ้าเรา ใส่ความคิดที่มีลงไปในการกระทำ จะช่วยเพิ่มการจดจำและความหมายของสิ่งที่เราทำมากขึ้น
      การที่เราไม่คิดโดยใช้วิจารณญาณ มันเหมือนกับเราตกเป็นเหยื่อต่อภาพลวงตาที่เรียกกันว่า ชื่อ(ภาษาที่เราใช้)”  เช่นพูดคำว่า ถนน ต้นไม้ ท้องฟ้า ภูเขา แต่ไม่ได้พูดถึงพิจารณาถึง รูปร่าง รูปทรง สีของมัน  แนวความคิดเหล่านี้ที่เราได้รับจากภาษาที่เราใช้มันมาจากรุ่นเก่าเเก่ วัฒนธรรม ที่ทำกันมานาน เมื่อเราปรระยุกต์ใช้แนวความคิดเหล่านี้ บางทีเราอาจไม่เข้าถึงมัน เพราะเรารู้จักโดยการ บอกต่อกันมา แต่ไม่ได้สัมผัสจากประสบการณ์ และเกิดจากการรับรู้ทางจิตใจของตนเอง
      ถ้าเราต้องการช่วยนักศึกษาพัฒนา ให้เป็นนักคิด นักพัฒนา เราต้องพัฒนาเพิ่มพลังจิต พลังที่จะสร้างสรรค์แนวความคิดผ่านสิ่งที่พวกเขา พบ ประสบ จากประสบการณ์ต่อโลก พวกเขาต้องรู้จักจัดการความคิดของตัวเขาเองเพื่อนที่จะได้มาซึ่งควมเชี่ยวชาญในการคิดเชิงวิจารณญาณ และจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญของการสร้างแนวความคิด พวกเขาต้องปรับปรุงความสามารถที่จะ แยกย้ายสลับเปลี่ยน จากแนวความคิดที่เกิดจากไอเดียเดิมไปสู่ไอเดียใหม่ที่เป็นทางเลือกอื่นๆ และต้องไปหลงกลไปกับชื่อ เพราะว่าชื่อไม่ใช้สิ่งของเป็นเพียงนามธรรม สิ่งที่เราสนใจไม่ไช่นามธรรมแต่เป็นรูปธรรมถ้าเราติดอยู่กับคำว่า ชื่อจะทำให้เราตัน คิดอะไรไม่เป็นอิสระ แต่ถ้าเราคิดได้ถึงรูปธรรม ของชื่อนั้นๆ จะทำให้เรามีความคิด แตกออก


การแตกฉานทางด้านแนวความคิด

การแตกฉานทางด้านแนวความคิดต้องอาศัยความแตกฉานทางด้านภาษา การเข้าใจในภาษาถ่องแท้ค่อนข้างสำคัญต่อการคิดคอนเซป มันค่อนข้างสำคัญในการ จะเลือกใช้คำแต่ละคำ เพราะบางคำที่คล้ายกันอาจให้ความคิดที่แตกต่างกันก็เป็นได้

ทดสอบความเข้าใจคำพูดพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ได้
คำในคู่ต่อไปนี้มีความคล้ายตลึงกันแต่ มีสาระความสำคัญที่แตกต่างกัน ให้ลองจดความเข้าใจถึงความแตกต่างของศัพท์คู่ต่อไปนี้ดูแล้วค่อยไปหาความหมายใน  Dictionary ดู ว่ามันใกล้เคียงกับความคิดของคุณหรือไม่
1)   clever/cunning  5)   socialize/educate                 10) jealousy/envy
2)   power/control
    7)  selfish/self-motivated
3)   love/romance
    8)   friend/acquaintance
4)   believe/know
     9)   anger/rage

จากการฝึกฝนกิจกรรมอันนี้นักศึกษาควรสามารถเริ่มที่จะกลายเป็น ผู้พูดที่ได้รับการศึกษาในภาษาของตนเองได้อย่าง ถ่องแท้ การที่จะพูดภาษาได้อย่างถูกต้องตามความคิด จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจถึง คำพูดนั้นไปในทางเดียวกัน และจะนำไปสู่แนวความคิดที่แท้จริง

การแตกฉานทางด้านแนวความคิดต้องการความเข้าใจในสภาพสังคม

ปัญหาใหญ่มีสองด้านคือ การขาดความเข้าใจทางด้านภาษาอย่าลึกซึ้งจากที่ กล่าวมาด้านต้น และการขาดความเข้าใจที่ลึกซึ้งต่อสภาพสังคมพื้นถิ่นที่ถูกปลูกฝังซึ่งเป็นธรรมดาที่เราจะถูกปลูกฝังจากสถานที่ที่เราอยู่ และ การปลูกฝังในแต่ละสถานที่นั้น ต่างกันออกไป อาจทำให้เกิดการเข้าใจที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเข้าใจในสภาพสังคม  พื้นถิ่น จะช่วยให้เราอธิบายความคิดของเรา ตรงกับผู้ฟังได้

หนทางสู่ความคิดอันอิสระ
      เมื่อต้องการไปสู่​​เสรีภาพทางความคิด เราจะต้องพัฒนาความสามารถ
ในการแยกแยะความแตกต่างของแนวความคิดและไอเดียในเรื่องสังคมพื้นถื่นของเราและในภาษาธรรมชาติที่เราพูด เราต้องเข้าใจความแตกต่างของวัฒนธรรมและประยุกต์ให้เข้าใจ ยกตัวอย่างเช่น คนอเมริกา ไอร์แลนด์ แคนาดา พูดภาษาอังกฤษเหมือนกัน         จะทำให้มีความเข้าใจในด้านภาษาเหมือนกันแต่อาจจะมีความเข้าใจทางด้านสภาพสังคมที่ แตกต่างกัน พวกเขาต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จึงจะสามารถ
สื่อสารความคิดได้อย่างอิสระ
      แต่อย่างไรก็ตามมนุษย์แล้วมีการปรับสภาพทางสังคมไปในทางที่เข้าข้างต่อวัฒนธรรมตนเอง เราจึงต้องคอยพัฒนาความคิดทางวิจารณญาณอยู่เสมอ เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งแนวความคิดที่ถูกต้อง
ความท้าทายที่เราเผชิญ
      ถ้าเราต้องการจะช่วยให้ผู้คนมีความคิดที่ดีและถูกต้องต่อแนวความคิด เราต้องสอนให้พวกเขามองสิ่งต่างๆให้ทะลุ(ปลอกเปลือกภาษา) พิจารณาทางเลือกหลายๆทาง ที่จะพูด และคำนึงถึงมัน บางทีสิ่งที่คนเราถูกปลูกฝังจากสังคม จะทำให้คนเรามีความเชื่อเข้าข้าง ตัวเอง มีความเชื่อที่เห็นแก่ตัว เพราะเราถูกปลูกฝังไว้อย่างลึก อาจจะถูกกับดักนี้หลอกได้ โดยต้องสอนให้เรายอมรับเผชิญความคิดอื่นๆเเละวิเคราะห์ จากหลายมุมมอง ก่อนที่จะได้ข้อสรุปแนวความคิด ความคิดที่แท้จริง

สรุปและจับประเด็น
      การหาแนวคิดควรคิดจากหลายๆมุมมอง เปิดรับเหตุผล และ ความคิดเห็นต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ในสภา มีการถกเถียงกัน ต่างคนต่างนำเอาเหตุผลต่างๆ ของหลายๆคน มานำเสนอ และสุดท้ายก็สรุปและประมวลผลทำให้เกิดแนวทางในการดำเนินงานในเรื่องต่างๆได้ โดยแนวทางที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นแนวทางที่มั่นคง และ หนักแน่น เพราะเกิดจากการตกผลึกเหตุผล และความคิด หลายๆทาง เข้าด้วยกัน
      การกระทำในชีวิตประจำวันนั้นก็ก่อให้เกิดแนวความคิดใหม่ๆได้ โดยปกตินั้นคนเรามักใช้ชีวิตแบบ ออโตเมติก คือ ทำไปตามกิจวัตรที่ทำทุกวัน แต่ถ้าเราหยุดกระทำแบบนั้น แล้วใส่ความคิดลงไป ตั้งคำถามกับสิ่งที่เราทำว่า เราทำไปทำไม เพื่ออะไร ซึ่งจะก่อให้เกิดแนวความคิดใหม่ๆ ได้ เช่น ทำไมเราต้องใส่ถุงเท้า เพราะ เดี๋ยวเท้าเหม็น และถ้าเรามีน้ำยาดับกลิ่นเท้าหล่ะ เราก็ไม่ต้องใส่ถุงเท้าไปข้างนอก
      การที่เราคิดโดยมีวิจารณญานจะทำให้เราไม่ตกอยู่กับสิ่งเดิมๆ ไม่ติดอยู่กับสิ่งที่เค้าบอกต่อมา เราต้องทำความเข้าใจด้วยตนเอง อย่าเชื่อในสิ่งที่ตนเองยังไม่เคยสัมผัส อย่ายึดติดกับชื่อเรียก เช่น ถนน ภูเขา ต้นไม้  โดยเราต้องคิดตามด้วยว่าลักษณะเป็นอย่างไร
      การที่เราจะสอนให้เกิดความพัฒนาทางด้านความคิด เราควรที่จะสอนให้ไม่ยึดติดกับนามธรรม อย่าติดอยู่ในกรอบของภาษา หรือ สิ่งที่ถูกกำหนดขึ้นโดยคนยุคก่อน คิดถึงรูปธรรม ของชื่อๆ นั้น ว่ามันสามารถเป้นอย่างไรได้บ้าง จะทำให้ความคิดของเราแตกแขนง
การแตกฉานในด้านความคิด ต้องอาศัย
      ความแตกฉานทางภาษา    ควรเลือกใช้คำให้เหมาะสม เนื่องจาก มีคำที่คล้ายกันแต่สาระสำคัญต่างกัน ซึ่งจะทำให้สื่อความหมายให้ผู้ฟังมีแนวความคิดคลาดเคลื่อนกันได้
      ความเข้าใจทางด้านสังคม  ทำความเข้าใจสังคมต่างๆ เพราะแต่ละสังคมก็มีแนวคิดเป็นของตนเอง เราควรที่จะศึกษาและทำความเข้าใจถึงสังคมนั้นๆ ว่ามีลักษณะอย่างไร เช่น คนไทย ไปเจรจาการค้ากะชาวญี่ปุ่น เราก็ควรจะศึกษาสังคมของเค้าว่าเป้นอย่างไร เช่น การทำความเคารพ เค้าทำกันอย่างไร คำพูดไหนที่ผู้ฟังฟังแล้วไม่เข้าหู เป็นต้น

โดยทั้งความแตกฉานทางภาษา และความเข้าใจทางสังคมนั้น เป้นหนทางสู่ความคิดอิสระซึ่งความท้าทายที่เราเผชิญนั้นคือต้องสอนให้ผู้คนมีความคิดที่ทะลุ กรอบของสังคม ยอมรับฟังความคิดเห็นต่างๆ จากหลายมุมมองแล้วนำมาวิเคราะห์ทำให้เกิดแนวความคิดที่แท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น