วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

การคิดเชิงวิจารณญาณ : การระบุเป้าหมาย

การคิดเชิงวิจารณญาณ : การระบุเป้าหมาย
Critical Thinking Identifying the Target

ในบทนี้ได้บอกถึงการทำอย่างไรที่จะระบุเป้าหมายที่ชัดเจนของความคิดรวมทั้งการจัดการของความคิดที่มีอยู่สามารถนำไปใช้ทั้งในการเขียน อ่าน การเรียนและการทำงาน
สิ่งที่ควรจะปรับปรุงของคนที่มักจะถามแบบนี้ เช่น

อันนี้เป็นไอเดียที่ดีหรือไม่ดี?
ฉันควรจะทำอันนี้ไหม หรือฉันควรจะทำเกี่ยวกับอะไรดี?

ผลการวิจัยที่สำคัญ
ชิ้นที่ 1 มาจากผลการประเมินพบว่าเด็กสามารถใช้ทักษะจากการเรียนได้ดี แต่ว่าในเรื่องของความคิดและการใช้เหตุผลนั้นยังไม่ดีเท่าที่ควร นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบจากต่างประเทศด้วยแล้วทำให้พบว่าเด็กอเมริกันนั้นมักจะล้มเหลวกว่าเด็กชาติอื่นๆเพราะว่าเด็กไม่ได้คิดถึงการคาดการณ์ของปัญหา, การประเมินและการแก้ปัญหา
ชิ้นที่ 2 ในหนังสือมักพบว่าจะมีใจความสำคัญอยู่แต่ว่าก็ไม่ได้ชักจูงให้เด็กได้ตั้งคำถามหรือวิเคราะห์ แทนที่ที่พวกเขาจะได้ใช้ข้อมูลมหาศาลพวกนั้นมากตั้งคำถาม กลับกลายเป็นว่าพวกเขาถามเฉพาะสิ่งที่เขาท่องจำได้
ชิ้นที่ 3 ครูส่วนใหญ่มักสอนแต่เนื้อหาแต่ไม่ได้ให้ความเข้าใจ (ประมาณว่าเอาแต่สอนแต่ไม่ได้อธิบายให้เด็กได้เข้าใจหรือประยุกต์ให้เอาไปใช้ได้)
ชิ้นที่ 4 ครูมีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงการทำงานหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิด
ชิ้นที่ 5 การจากค้นพบทั้งหมดพบว่าครูนั้นยากที่จะเปลี่ยนแปลงลักษณะการสอนได้เนื่องจากเขาได้ถ่ายถอดสิ่งที่เขาได้ถูกสอนมาแบบนั้น
สรุปคือ เราติดอยู่ในวงจรของการสอนที่เป็นลักษณะถ่ายทอดส่งจากอีกรุ่นสู่อีกรุ่น ถ้าหากหาทางออกจากวงจรนี้ได้จะเกิดผลดีและเกิดการสร้างคนและพัฒนาคนในแบบใหม่ๆได้

รูปแบบที่ดีของบทความ
การคิดเชิงวิจารณญาณเป็นรูปแบบนึกของการคิด ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีประโยชน์และพิถีพิถัน ซึ่งเป็นการคิดที่มีระบบระเบียบ ความเป็นเหตุเป็นผล ที่ครอบคลุมของเหตุผลหรือหลักการ และมีผลลัพท์หรือข้อสรุปที่ดี
การคิดเชิงวิจารณญาณแตกต่างจากการคิดวิธีอื่นๆ เพราะนักคิดนั้นได้ตระหนักถึงกระบวนการการเรียนรู้ที่ผ่านมาและตรวจสอบความคิดอยู่สม่ำเสมอเพื่อที่จะกระตุ้นความคิดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับกระบวนการอื่นๆ การคิดเชิงวิจารณญาณนั้นไม่ใช่เพียงแค่สุ่มดึงลักษณะพิเศษหรือส่วนประกอบของความรู้ต่างๆแต่ใช้องค์ความรู้ทั้งหมดที่มีอยู่มาหลอมรวมเพื่อให้ความคิดและนำข้อมูลทั้งหมดเชื่อมโยงกันเพื่อที่จะนำมาประยุกต์ปรับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยข้อมูลไม่ใช่จากสิ่งที่เรียนรู้มาอย่างเดียวแต่เกิดจากชีวิตประจำวันด้วย(เหมือนกับว่าความคิดที่ดีเกิดมาจากความรู้ที่ได้เรียนรู้มาบวกกับประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน)

การคิดเชิงวิจารณญาณตั้งอยู่บนสมมติฐานทั้งสอง คือ
- กระบวนความคิดนั้นแสดงถึงการใช้ชีวิตประจำวันได้
- ทุกคนสามารถที่จะพัฒนาคุณภาพการคิดของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง
การคิดเชิงวิจารณญาณเป็นพื้นฐานที่จะส่งเสริมให้เราสามารถประสบความสำเร็จในการเรียนและการทำงาน การสอนเปรียบเสมือนเป็นตัวช่วยเหลือผู้เรียนอย่างหนึ่งในการพัฒนาความคิดของพวกเขา (ความรู้สามารถนำมาเป็นตัวช่วยในการคิด)
ผู้เรียนเรียนรู้ที่จะนำความคิดของเขาไปพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุณภาพชีวิตก็สามารถปรับปรุงและพัฒนาความคิดได้เช่นกัน

การคิดแบบมีวิจารณญาณที่ครอบคลุม มีลักษณะดังต่อไปนี้
เป็นความคิดที่สามารถตอบสนองและเป็นเหมือนไกด์ไลน์ให้กับมาตรฐานความคิด เช่น ความถูกต้องแม่นยำ ความเที่ยงตรง ความแน่นอน ชัดเจน หากไม่มีมาตรฐานทางความคิดแล้วจะทำให้เหมือนหลงทาง ความคิดจะไม่ได้ประสิทธิภาพ (มักเรียนว่าทักษะทางการคิด)
การคิดที่รอบคอบจะช่วยสนับสนุนมาตรฐานความคิดของนักคิดได้ เช่น การถ่อมตน,การซื่อสัตย์,ความเพียร
การเอาใจใส่ และรู้จักควบคุมตนเอง เป็นต้น
การคิดนั้นทำให้นักคิดได้สามารถดึงองค์ประกอบของตรรกะต่างๆของความคิดมาใช้ในการแก้ไขปัญหาได้ เช่นนักคิดสามารถแก้ไขปัญหาได้โดยนำตรรกะมาเชื่อมโยงกับปัญหาเพื่อที่จะได้สามารถแก้ปัญหาที่มีอยู่ได้ ยกตัวอย่างเช่น นักคิดมักจะตั้งคำถามกับตัวเองเกี่ยวกับปัญหาที่เกิด

อะไรคือวัตถุประสงค์ของการคิดนี้?
อะไรคือคำตอบที่ตรงประเด็นตรงจุดที่ฉันกำลังหาคำตอบอยู่?
ภายในความคิดฉันมีมุมมองอะไรบ้าง?
ฉันมีข้อมูลอะไรในมือที่สามารถใช้ได้บ้าง?
ฉันจะสามารถที่จะตีความข้อมูลที่มีอยู่ได้อย่างไร?
อะไรเป็นแนวความคิดหรือความคิดอะไรที่จะนำมาเป็นศูนย์กลาง?
ข้อสรุปจะเป็นอะไร?
ถ้าฉันยอมรับข้อสรุปอันนี้จะเกิดผลอะไรบ้าง?
ถ้าฉันนำความคิดนี้ไปปฎิบัติจะเกิดผลกระทบอะไรบ้าง? เป็นต้น

สิ่งที่นักคิดต้องทำประจำเพื่อจะได้ตรวจสอบมาตรฐานความคิดของตัวเอง
- ประเมิน ทดสอบ และพัฒนาตัวเองอย่างสม่ำเสมอ
- ซื่อสัตย์
- มีคำตอบที่ดีและมีเหตุมีผล และคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะกระทบได้
- หาและระบุจุดแข็งและจุดอ่อนรวมทั้งข้อจำกัดของตัวเองได้
ในสิ่งต่อไปนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับสิ่งที่สตีเฟ่นและคอนลีนคิดลงในข้อความ ซึ่งแสดงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการอ่านและการคิด

การคิดเชิงวิจารณญาณ
การระบุเป้าหมาย : การคิดเชิงวิจารณญาณในที่ทำงาน

การคิดเชิงวิจารณญาณไม่ได้ใช้แค่เพียงแต่ในห้องเรียน แต่ยังใช้ในชีวิตประจำวัน และในที่ทำงานได้อีกด้วย สภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก การคิดเชิงวิจารณญาณจึงมีความสำคัญที่จะทำให้เราสามารถประสบความสำเร็จได้ ไม่ใช่แค่เพียงอยู่รอดไปวันวัน จากโครงสร้างการบริหารของแต่ละบริษัท การประสบความสำเร็จของสายการผลิต การได้ผลตอบแทนสูงขึ้นขึ้นอยู่กับพนักงานว่าสามารถทำได้แค่อ่าน เขียน คิดเลข หรือมากกว่านั้น ในการมีความรับผิดชอบต่องานและมีทัศนคติที่ดีต่องานที่ทำ ในบางองค์กรพนักงานได้ร้องขอให้ตนเองได้มีสิทธิ์ที่จะตัดสินใจแทนการทำตามขั้นตอนกระบวนการ



Mill interview 83 for jobs
กลุ่มตัวอย่าง83 คนที่เข้าสัมภาษณ์งานกับ Mill  โดยทำการทดสอบความสามารถสำหรับงาน รวมถึงการรวมกลุ่มแก้ปัญหา สัมภาษณ์งาน การเขียน และการนำเสนอผลงาน การทำงานของบริษัทนี้ มีการทำทำงานแบบที่ไม่มี หัวหน้างาน ให้พนักงานทำงาน จัดการ ดูแล รับผิดชอบงาน อีกทั้งยังติดสินใจเอง และแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง แต่ละทีมจะมีหัวหน้าทีม และ ถูกสนับสนุนโดยกลุ่มอื่นๆ  เป็นการทำงานระบบใหม่ที่ดีกว่าการถูกบังคับให้ทำ และพนักงานต้องทำงานแบบทำไปวันวัน
Pseudo-Critical thinking Approaches and Materials
การคิดเชิงวิจารณญาณจับต้องไม่ได้ ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า  จึงดูเหมือนไม่มีจริง และถูกบิดเบือนในโลกธุรกิจ จากผู้ที่เสาะหาผลประโยชน์ บนความชอบธรรม เราจึงต้องการผลตอบรับจากผู้บริโภคผู้ซึ่งใช้การคิดเชิงวิจารณญาณในชีวิตประจำวัน และ ประสบความสำเร็จจากการใช้การคิดเชิงวิจารณญาณนี้ เพื่อให้ผู้ที่เพิ่งเริ่มใช้การคิดเชิงวิจารณญาณได้เห็นถึงความเป็นจริง ถ้าเรารู้จักและเข้าใจกับ การคิดเชิงวิจารณญาณ มากเพียงพอ เราก็จะสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันและประสบความสำเร็จ การระบุเป้าหมายอย่างชัดเจน แม่นยำ เป็นแค่การเริ่มต้นในการเผชิญกับสิ่งท้าทายอื่นๆที่รออยู่
เราบรรลุเป้าหมาย ในการประมวลผลทางความคิดของนักเรียนในการเขียน แล้วหรือยัง?
จากการประเมินผลกลุ่มนักเรียนชั้นเกรด 8 ของคุณครู Tamari ที่ได้รับมอบหมายให้เขียนรายงาน ซึ่งพวกเขาได้บรรยายในหัวข้อทีว่า อุปนิสัยของเพื่อนที่สำคัญที่สุดคืออะไร และเพราะเหตุใดจึงทำให้มีความสำคัญมากที่สุด และนี่ก็คือคำตอบที่ได้จากนักเรียนสองคนในชั้น ซูซาน และ คาร์ล

การคิดเชิงวิจารณญาณ
การบรรลุเป้าหมาย ในการประมวลผลทางความคิดของนักเรียนในการเขียน

จากการประเมินผลกลุ่มนักเรียนชั้นเกรด 8 ของคุณครู Tamari ที่ได้รับมอบหมายให้เขียนรายงาน ซึ่งพวกเขาได้บรรยายในหัวข้อทีว่า อุปนิสัยของเพื่อนที่สำคัญที่สุดคืออะไร และเพราะเหตุใดจึงทำให้มีความสำคัญมากที่สุด และนี่ก็คือคำตอบที่ได้จากนักเรียนสองคนในชั้น ซูซาน และ คาร์ล


Susan
เพื่อน คือ คนที่คอยดูแลหมั่นเอาใจใส่คุณ คือคนที่จะคอยอยู่ข้างคุณ และเป็นคนที่จะคอยช่วยเหลือคุณหาทางออกในเวลาที่คุณมีปัญหา ลักษณะอุปนิสัยของเพื่อนที่สำคัญที่สุด ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความเอื้ออาทร และความจริงใจ อันดับแรก มันสำคัญมากสำหรับเพื่อนที่จะต้องซื่อสัตย์ต่อกัน เพราะแน่นอน คุณย่อมต้องการไว้ใจ เชื่อใจเพื่อนของคุณ ถ้าหากเพื่อนคนไหนไม่ซื่อสัตย์ มันก็มีโอกาสเป็นไปได้ที่คนคนนั้นจะย้อนกลับมาทำร้ายคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เขาหรือเธอเจอคนที่ชื่นชอบมากกว่าคุณ อันดับต่อมา มันสำคัญมากสำหรับเพื่อนที่จะต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะว่าทุกคนย่อมต้องการการช่วยเหลือ และถ้าคุณไม่มีเพื่อนเลย มันจะเป็นสิ่งที่แย่มากๆที่จะต้องรู้สึกโดดเดี่ยว และสุดท้าย สิ่งสำคัญมากสำหรับเพื่อน คือการที่จะต้องมีความจริงใจต่อกัน เพราะมีน้อยคนนักที่จะบอกคุณบางอย่างเกี่ยวกับตัวของคุณซึ่งคุณไม่ต้องการที่จะได้ยิน เพื่อนที่จริงใจจะพยายามช่วยแก้ไขปรับปรุงให้คุณดีขึ้น ถึงแม้ว่าเขาหรือเธอจะรู้ว่านั่นอาจจะทำร้ายความรู้สึกของคุณ แต่มันเป็นเรื่องธรรมดาที่จะได้ยินสิ่งเหล่านั้นจากเพื่อน เพราะคุณย่อมรู้ดีว่า เขาหรือเธอไม่ได้มีเจตนาที่จะทำร้ายคุณอย่างแน่นอน

จากการสังเกต
ซูซานค่อยข้างทำได้ดีในการคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับลักษณะนิสัยของเพื่อนที่เป็นที่ปรารถนา ก่อนอื่นเลย จะเห็นได้ชัดว่าเธอมีความเข้าใจในปัญหา เธอให้ความกระจ่างในแนวคิดเกี่ยวกับเพื่อน ต่อมาเธอได้ยกตัวอย่างสามลักษณะนิสัยของเพื่อนที่ดี และเธอนำแต่ละลักษณะมาจัดลำดับพร้อมยกเหตุผลที่ดีมาสนับสนุนในทุกๆตัวอย่าง เธอเขียนออกมาได้ชัดเจน ตรงประเด็น มีระบบ มีเหตุผลประกอบ และสะท้อนให้เห็นถึงแนวความคิดในช่วงวัยของเธอได้อย่างดี


Carl
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การมีจำนวนเพื่อนมากๆที่ชอบทำในสิ่งเดียวกับที่คุณเองชอบทำ ซึ่งจะส่งผลให้คุณสามารถไปสถานที่ต่างๆอย่างมีความสุขได้ ตัวผมเองชอบที่จะมีเพื่อนเป็นผู้ชาย เพราะพวกเขาชอบกีฬาเช่นเดียวกับผม สำหรับผู้หญิงในบางครั้งก็เล่นกีฬาเช่นกันแต่ไม่ได้เล่นได้ดีอย่างผู้ชาย ผมชอบที่จะเล่นเบสบอล ฟุตบอล และบาสเกตบอล ในบางโอกาสผมก็ชอบเล่นฮ็อกกี้ มันไม่มีสถานทีดีให้เล่นในละแวกบ้านผม และบางครั้งแม่ของผมก็ทำให้ผมต้องไปเร็วก่อนเวลา เธอทำให้ผมอารมณ์เสียเพราะเธอทำลายชีวิตผม สิ่งเดียวที่เธอต้องการให้ผมทำคืองาน ผมคิดว่าเธอคงไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับการมีเพื่อน บางทีถ้าหากแม่เล่นกีฬาตอนเธอยังเด็ก เธออาจจะยอมให้ผมออกไปเล่นอะไรได้มากกว่านี้ ไม่ใช่เอาแต่คิดแค่เรื่องงาน งาน และงาน

จากการสังเกต
เกือบทั้งหมดที่คาร์ลเขียนแทบจะไม่ตรงประเด็นเรื่องลักษณะของเพื่อนที่เป็นที่ปรารถนาเลย เขาดูเหมือนจะเขียนระบายถึงในสิ่งที่เกิดขึ้นในความคิดภายใต้จิตใต้สำนึกของเขา คาร์ลเริ่มต้นด้วยความสับสนในตัวคำถามที่ว่า “อุปนิสัยของเพื่อนที่สำคัญที่สุดคืออะไร” ด้วยความคิด “มันสำคัญหรือไม่ที่รู้จักคนจำนวนมากที่สามารถแบ่งปันความความสุข” ต่อด้วยคำถาม “ใครคือคนที่ฉันชื่นชอบ”  “อะไรคือสิ่งที่ตัวฉันชอบทำ”  “เกิดอะไรขึ้นกับสิ่งรอบตัวฉัน” และจบด้วยคำถาม “ทำไมแม่ของฉันไม่ปล่อยให้ฉันได้ทำในสิ่งที่ฉันอย่างจะทำ” ซึ่งชี้ให้เห็นได้ชัดว่า เขาได้หลงประเด็นไปไกลแล้ว โดยที่ตัวเขาเองไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ จนกว่าเขาจะได้เรียนรู้ที่จะหัดเรียบเรียงความคิดของเขาให้เข้ากับตัวคำถามที่มีซะก่อน เขาจะมีปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของความคิด
การหัดเขียนที่แสดงออกถึงความคิดของเรานั้นเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่จะแก้ไขได้ แต่ไม่ได้ความว่าการเขียนที่ดีต้องการการคิดที่ดี
การเขียนต้องการการคิดที่เป็นระบบเป็นหนึ่งเดียว การกำหนดความคิดในกระบวนการที่ทำให้การคิดที่เป็นระบบจะทำให้สามารถเชื่อมโยงกับเรื่องอื่นๆได้ ในเวลาที่ผู้เขียนขาดความคิดที่ชัดเจนในจุดประสงค์ ขาดเป้าหมาย ขาดข้อมูล เหตุผล และหลักการซึ่งใช้ในการตัดสินความคิดที่ดี ข้อบกพร่องเหลานี้เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นในงานเขียนได้อย่างดี
การเขียนที่ดีหรือไม่ดีนั้น จะถูกสร้างผ่านความคิดส่วนบุคคลที่มาพร้อมกับขีดจำกัดพื้นฐานทั้งด้านการคิดและเขียนที่ต่างกันไป ซึ่งหากสังเกตการตอบคำถามของทั้งซูซานและคาร์ลแล้ว จะเห็นได้ว่าคู่มีความแตกต่างกันมากในเรื่องความคิดกับการเขียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น