วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

Bertrand Russell on Critical Thinking


Bertrand Russell on Critical Thinking

Bertrand Russell มีความเชื่อว่า การเรียนที่สอนให้นักเรียนคิดเหมือนๆกันนั้นเป็นแบบแผนและไม่เปิดกว้าง
การเรียนรู้วิธีนี้ทำให้นักเรียนไม่เกิดการวิเคราะห์ทางความคิดและขาด "critical habit of mind"

การวิเคราะห์ทางความคิด =  ปัญญา + คุณธรรม
เราควรรู้จักตัดสินใจอย่างมีเหตุผล รู้จักตั้งคำถาม เพื่อเข้าถึงความรู้ที่เป็นกลาง

หลักพัฒนา critical skill เพื่อนำไปสู่การเป็น critical thinker
1. ความสามารถในการสร้างความคิดเห็นของตนเอง มีความคิดเป็นของตนเอง ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ รู้จักซักถามข้อสงสัย
2. มีความสามารถในการหาทางออกที่เป็นกลาง มองให้เป็นกลาง ไม่เข้าข้างความคิดตัวเอง และมองความคิดผู้อื่นอย่างเป็นกลางเช่นกัน สืบหาข้อเท็จจริง และรู้จักชั่งน้ำหนักข้อโต้แย้ง
3. รู้จักซักถามข้อสงสัย มีข้อสงสัยอย่างสร้างสรรค์ เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง

แนวคิด Bertrand Russell เพิ่มเติม
1. critical thinking ไม่มีหลักการที่การตายตัว ต้องใช้การพิจารณารู้จักชั่งน้ำหนักระหว่างหลักฐานกับข้อโต้แย้ง ข้อมูลต้องได้รับการประเมินว่าเป็นจริงหรือไม่

2 critical thinking ต้องอาศัยการตีความอย่างถี่ถ้วน เช่น คัดค้านเป็นการเริ่มต้นโต้แย้งกันเพื่อให้เกิดข้อมูลที่หลากหลาย นำไปสู่การตีความที่ละเอียดยิ่งขึ้น ในขั้นตอนต่อไป

3 critical thinking ไม่ได้เป็นการหาข้อขัดแย้ง แต่เป็นการตั้งข้อสงสัยเชิงสร้างสรรค์

การใช้หลัก critical พิจารณาด้วยเหตุผล จะสามารถประเมินได้ว่าหลักการของเรามีน้ำหนักแค่ไหน

เหตุผล + หลักฐาน


critical skillsเพียงเล็กน้อยนั้นไม่เพียงพอที่จะทำให้คนหนึ่งเป็นนักคิดที่ดีได้ แต่รัสเซลให้ความสนใจกับการแสดงออกด้วย เพื่อแปลจากทักษะไปเป็นพฤติกรรมจริงๆจนเป็นนิสัย รัสเซลอธิบายการศึกษาว่าเป็นการพัฒนาของพฤติกรรมทางจิตใจและมุมมองบางอย่างต่อชีวิตและโลก เขากล่าวถึง

 (i) นิสัยของการไต่สวนอย่างเป็นกลาง
ไม่ฟังความคิดเห็นด้านเดียว ไม่ตัดสินที่รูปลักษณ์ภายนอกหรือการศึกษา

 (ii) นิสัยของการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน
 ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอที่มีไม่มีเหตุผลที่ชักชูงให้เชื่อว่าเป็นจริง

 (iii) นิสัยของความพยายามที่จะเห็นสิ่งต่างๆอย่างแท้จริง
ไม่สะสมสิ่งที่จะตอกย้ำอคติที่มีอยู่ให้แข็งแกร่งขึ้น

 (iv) นิสัยของการชี้นำตนเองในการเรียนรู้
มีความเป็นอิสระในความต้องการของตน

นิสัยต่างๆนี้ต้องถูกนำไปใช้อย่างชาญฉลาด รัสเซลตระหนักว่าปัญหาในการคิดอย่างมี วิจารณญาณของคนส่วนใหญ่อยู่ทิ่ เมื่อคนกลายเป็นเหยื่อของนิสัย ความเชื่อเป็นนิสัย คนๆนั้นจะกลายเป็นนักโทษของความอคติของตนเอง ดังนั้นการคิดอย่างมี วิจารณญาณ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น

 การเตรียมความพร้อมในการทำหน้าที่และการตอบสนองในรูปแบบต่างๆ ตัวอย่าง:
(i) ความพร้อมที่จะยอมรับหลักฐานใหม่จากความเชื่อเดิม ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปิดใจให้กว้างยอมรับสิ่งที่ถูกตรวจสอบแล้ว(หลีกเลี่ยงความงมงาย)
(ii) ความพร้อมที่จะละทิ้งสมมติฐานเดิมหลังจากพิสูจน์แล้วว่าผิด
(iii) ความพร้อมที่จะปรับตัวยอมรับความจริงของโลก

นอกจากทักษะและการแสดงออก ทัศนคติก็เป็นอีกสิ่งที่สำคัญ อันได้แก่
(i)  ความเข้าใจในความผิดพลาดของมนุษย์
(ii) มีทัศนติที่ใจกว้าง เปิดรับทุกความคิด
(iii) ไม่เอาความคิด ความต้องการของตัวเองเป็นศูนย์กลาง
(iv) มีความยืดหยุ่นทางความคิด

ทัศนคติทางวิจารณญาณสะท้อนถึงทฤษฎีความรู้และจรรยาบรรณซึ่งเน้นถึง
(i) การเชื่ออย่างถูกต้อง เช่น การเชื่ออย่างไม่ดื้อรั้น
(ii) ความสงสัยในความเชื่อต่างๆ
(iii) ความเชื่อที่ว่าความรู้เป็นเรื่องยากแต่ไม่เกินความสามารถที่จะเรียนรู้
(iv) อิสระทางความคิดเห็น
(v) ความจริง
(vi) การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น

สรุป เป็นเรื่องง่ายมากที่คนเราจะเกิดความอคติ แต่ต้องมีสติ รู้ตัว และใช้ความพยายามเพื่อต่อสู้กับความอคตินั้น อีกทั้งควรรับฟังความคิดเห็นของผู้มีพื้นฐานต่างกัน เรียนรู้ที่จะสังเกตความอคติของตนเอง เช่น เมื่อมีผู้ที่มีความเห็นต่างและเราไม่พอใจ ให้รู้ตัวว่าเราเกิดความอคติอยู่ การมีความคิดที่เป็นกลาง ทำให้เกิดความคิดอย่างมีวิจารณญาณ




                                                                      นส.รวิภา พีระวัฒนชาติ     5434431225
                                                                                              นส.รวิสรา หวังวิทยากุล    5434432925
                                                                                              นส.ตุลยดา ขันติพงศ์         5434412325

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น